การเกิดขึ้นของ ChatGPT ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้ทักษะด้าน "AI" มีความต้องการในตลาดแรงงานเป็นที่สุด จากรายงานของ The Future of Jobs Report 2025 ระบุว่า ตำแหน่งงานแบบเดิม ๆ จะสูญสลายไปมากกว่า 92 ล้านตำแหน่ง โดย 5 อันดับแรก ได้แก่ พนักงานไปรษณีย์, พนักงานคีย์ข้อมูล, พนักงานธนาคาร, แคชเชียร์และพนักงานจำหน่ายตั๋ว และงานธุรการ
สังเกตได้ว่า งานที่กำลังจะล้มหายตายจากไปนั้น มีความเกี่ยวข้องกับหลักวิชาด้าน สังคมศาสตร์ (Social Science) เป็นส่วนใหญ่
รายงานดังกล่าว ระบุอีกว่า ตำแหน่งงานใหม่ ๆ ที่จะเพิ่มขึ้นกว่า 170 ล้านตำแหน่ง เกือบทั้งหมดเกี่ยวพันกับ AI ทั้งสิ้น โดย 5 อันดับแรกของงานที่พุ่งแรงที่สุด ได้แก่ Big Data Specialist, FinTech Engineer, Machine Learning Specialist, Softwar Developer และ Security Manager ตำแหน่งงานเหล่านี้ต้องการผู้มีความรู้ ความเข้าใจในหลักวิชา "เทคโนโลยีระดับสูงและเฉพาะทาง" เพื่อให้เกิดการจ้างงานในภายภาคหน้า
แม้จะเข้าใจได้ว่าการทำงานต้องใช้ทักษะที่จำเป็น และตอบโจทย์ต่อภาคธุรกิจ แต่แรงงานยุคใหม่มีทักษะ AI อย่างเดียว เพียงพอต่อการอยู่รอดในโลกของการจ้างงานที่แข่งขันกันสูงขึ้นหรือไม่ หรือจริง ๆ แล้วยังต้องประสานพลังกับความรู้ ทักษะด้านสังคมศาสตร์ ที่มีประเด็น "Critical Thinking" หรือ การคิดเชิงวิพากษ์ ถี่ถ้วน รอบคอบ ไม่ตกเป็นเหยื่ออะไรง่าย ๆ
ทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงาน ไม่ได้แยกขาดจากการเรียนเพื่อรู้อย่างถาวร แต่สามารถที่จะ "Interplay" หรือ สร้างผลสืบเนื่องต่อกันและกันได้ หากมีเพียงองค์ความรู้ทางสังคมศาสตร์เพียงอย่างเดียว ย่อมตกงาน เตะฝุ่น การจ้างงานไม่เกิด แต่หากมีเพียงทักษะวิชาชีพ เช่น AI ความลุ่มลึก การตัดสินคุณค่า และการคิดเชิงวิเคราะห์ย่อมหายไป เหลือเพียงแต่ "Labour Intensive" หรือ แรงงานที่ลงแรงเฉย ๆ ไม่มีชุดวิธีคิดในการตัดสินใจ หรือสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ
การจะเป็นแรงงานที่สมบูรณ์พร้อมในอนาคต จะต้องผสาน "ศาสตร์และศิลป์" หมายถึง ต้องมีทั้งทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงาน และมีองค์ความรู้เชิงนามธรรมที่ลุ่มลึกมากพอในการคิดวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอว่า แรงงานที่อยากจะอยู่รอด ไม่ว่าจะเป็นสายสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์ หรือกระทั่งสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต้องพัฒนาตนเองให้ "ยกระดับทักษะถ้วนหน้า (Holistic Upskills)" หมายถึง ไม่เพียงแต่เพิ่มขีดความสามารถในทักษะด้านใดด้านหนึ่ง หรือเลือกเฉพาะทักษะที่ตนสนใจ ชื่นชอบ หรือมี Passion มายกระดับเท่านั้น แต่ต้องยกระดับ "ทั้งกระบิ" เพื่อให้ความสามารถของตนนั้นมีมากพอที่จะประกอบอาชีพที่สอดรับกับตลาดแรงงานในโลกอนาคตได้
ทุกวันนี้ ไม่มีแบ่งแยกศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่ง อักษรศาสตร์ ต้องเข้าใจเทคโนโลยี จึงจะประยุกต์ใช้ ChatGPT ได้ หากเชี่ยวชาญเพียงศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่ง ตลาดแรงงานไม่ต้องการ … ทุกวันนี้ AI สามารถ Generate นิยาย หรืองานโฆษณา อาชีพเหล่านี้เหลืออะไร … เราต้องเข้าใจโลกว่าเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด … เราเน้นสร้าง Future Human เป็นสำคัญ
นอกจากนี้ ศ.ดร.วิเลิศ ยังชี้ว่า อุดมศึกษายุคใหม่ต้องผลิตบัณฑิตที่เปี่ยมล้นไปด้วย "Critical Thinking" หมายถึง ต้องมีทักษะการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ และสร้างสรรค์ เพื่อใช้ในการกำกับควมคุม AI อีกทอดหนึ่ง ถึงแม้สิ่งนี้จะฉลาดกว่าปัจเจกมาก ทั้งจดจำได้ดีกว่า บรรจุข้อมูลได้มากกว่า และรอบรู้มากกว่าสมองของเรา แต่สติปัญญาของมนุษย์ อย่างไรก็เหนือกว่าในเรื่องของ "การวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์ (Analytical and Creative)"
เชื่อมั่นว่า ปัญญาที่ไม่ประดิษฐ์ ที่เกิดขึ้นจากผู้เรียน เอาชนะ AI ได้ … แม้จะใช้งาน AI แต่ท้ายที่สุด ต้องพิจารณาตามความเหมาะสมเองว่า สิ่งที่ได้มาควรนำไปใช้อย่างไร เหมาะสมหรือไม่ อย่างไร … เช่น ให้ AI สร้างโฆษณา แบบใดที่ลูกค้าจะชอบ หรือซื้องานเรา เหล่านี้ต้องคิดเอง
บทความวิจัย The Neoliberal University as a Space to Learn/Think/Work in Higher Education เขียนโดย อิเกีย ทรัวย็อง (Igea Troian) และ เคลาเดีย ดัทสัน (Claudia Dutson) เสนอว่า มหาวิทยาลัยทุกวันนี้ไม่ต่างจาก "โรงเลี้ยงแรงงาน" หรือ "Edufactory" ที่ความสำเร็จไม่ได้มาจากการสร้างองค์ความรู้ได้มากเพียงไร แต่มาจากสามารถผลิตแรงงานป้อนเข้าสู่ตลาดและอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของโลกได้มากน้อยเพียงไร หากป้อนได้มาก เท่ากับว่า มหาวิทยาลัยก็จะได้รับการสนับสนุนทั้งจากภาคธุรกิจและภาครัฐมากตามไปด้วย
แต่การเป็นเพียงโรงเลี้ยงแรงงาน ที่ผลิตบัณฑิตออกมาเหมือน ๆ กัน เท่ากับว่า การแข่งขันในตลาดก็จะสูงตามไปด้วย และเมื่อใดก็ตามที่ ตลาดแรงงานเปลี่ยนความต้องการทักษะไปอีกขั้นในอนาคต มหาวิทยาลัยที่ตามไม่ทัน ก็จะผลิตบัณฑิตที่ไร้ความสามารถ ผลักภาระให้นายทุนต้องลงแรง "Upskill และ Reskill" แรงงานใหม่แบบยกเครื่อง
ทางออกที่ง่ายที่สุด คือ ยังต้องคงการเรียนแบบ Critical Thinking เอาไว้ ซึ่งสามารถหาได้จากสาขาวิชาสังคมศาสตร์ อย่างน้อย ๆ ก็เป็น "แต้มต่อ" ให้แก่แรงงานสามารถที่จะคิดอะไรนอกกรอบ แสวงหาทักษะใหม่ ๆ รวมถึงการปรับตัวในตลาดแรงงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงได้
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ การเอาตัวรอดของสาขาวิชา "ปรัชญา (Philosophy)" ฟิโอนา เยนกินส์ (Fiona Jenkins) เสนอไว้ในบทความวิจัย Gendered Hierarchies of Knowledge and the Prestige Factor: How Philosophy Survives Market Rationality ตราบใดที่มนุษย์ยังต้องการ "การตัดสินคุณค่า (Value Judge)" ในบางประเด็นที่ยากแก่การตัดสินใจโดยตลอด วิชาปรัชญาก็ไม่มีทางล้มหายตายจากไปไหน แม้จะไม่เป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานมากมายอะไร
แก่นของปรัชญา คือ "การถาม" หมายความว่า ต้องเป็นผู้สงสัยในทุกประเด็น ประหนึ่ง "แบบจำลองทางความคิด" ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติจริง ๆ ซึ่งตรงข้ามกับการศึกษาในวิชาชีพหรือการแสวงหาทักษะ ที่เน้นปฏิบัติเลย ไม่ต้องคิดอะไรเกี่ยวกับคุณค่ามากมาย คิดเพียงหลักสมการ การออกแบบโครงสร้าง หรือรูปแบบการจัดวางเป็นพอ
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ "การทำแท้ง (Abortion)" หากคิดในแง่มุมผลประโยชน์หรืออรรถประโยชน์ (Utility) อย่างเดียว การทำแท้งเป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะว่าไม่พร้อมจริง ๆ และมนุษย์เราพลาดกันได้ แต่หากมีปรัชญาเข้ามาเกี่ยวข้อง การทำแท้งจะต้องคิดให้รอบคอบมากยิ่งขึ้น เพราะต้องคำนึงถึง "สิทธิของตัวอ่อนในครรภ์" ที่ไม่สามารถแสดงเจตจำนงตนเองได้
เห็นได้ว่า เมื่อแรงงานมีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์และสร้างสรรค์ หมายความว่า สังคมศาสตร์ นั้น "อยู่ยงคงกระพัน (Never Die)" ยังมีที่ทางบนโลกการทำงานในอนาคตอันใกล้นี้อย่างไม่ต้องสงสัย และไม่สูญสลายไปง่าย ๆ
หากมหาวิทยาลัยมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตด้วยการติดตั้งทักษะ AI เพียงอย่างเดียว โดยไม่คำนึงว่า การพัฒนาหรือใช้งาน AI ในระดับสูงมากเท่าไร "ทรัพยากรใต้ดิน" หรือ "พลังงาน" จะถูกใช้งานมากยิ่งขึ้นเท่านั้น ทำให้เกิดสภาวะโลกเดือด หรือการสูญเสียทรัพยากรหายากไปมหาศาล จะกลับกลายเป็นผลเสียที่มากกว่าเพียงประเด็นตลาดแรงงาน
"Green Transition" เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จำเป็นต้องติดตั้งในแรงงานยุคใหม่ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรให้ตระหนักถึง "ความยั่งยืน (Sustainability)" รักษ์โลก เพิ่มพื้นที่สีเขียว อยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ หมายความว่า การพัฒนาบุคลากรด้าน AI อย่างไม่คำนึงถึงสิ่งอื่นใด เป็นการทำลายหลักการนี้แบบอ้อม ๆ และอาจจะเป็นผลกระทบในระยะยาว หากดันทุรังจะพัฒนาบุคลากรด้าน AI แบบไม่สนใจความยั่งยืนนี้
สำหรับทางแพร่ง (Dilemma) ดังกล่าว ศ.ดร.วิเลิศ เสนอแบบกว้าง ๆ ว่า เราต้องสร้าง "Sustainable AI" หมายถึง ใช้งานเทคโนโลยีให้ยั่งยืน แม้ในระยะสั้นจะมีผลกระทบในเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ในระยะยาว เมื่อองค์ความรู้ถึงขีดสุด มีความเป็นไปได้ว่าจะใช้ AI บนฐานของการรักษ์โลกได้
"เราต้องสร้างบุคลากรที่สามารถคิดเรื่องการใช้ AI ไปพร้อม ๆ กับ Sustainability … ตรงนี้ เกี่ยวข้องกับ Empathy หรือการทราบว่าอะไรควรทำ ไม่ควรทำ เพื่อจะลดผลกระทบต่อสังคมให้น้อยที่สุด … เมื่อมีแต่ผลเชิงลบ ไม่มีเชิงบวก เราอยู่ไม่ได้แน่นอน" อธิการบดี จุฬาฯ กล่าวทิ้งท้าย
บทความวิจัย Three Problems of Interdisciplinarity
บทความวิจัย Gendered Hierarchies of Knowledge and the Prestige Factor: How Philosophy Survives Market Rationality
https://www.chula.ac.th/news/210213/
วันนี้ (4 ม.ค.2568) เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) โพสต์ข้อความระบุว่า วันนี้ เป็นวันที่ โลกใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในรอบปี มีระยะห่างประมาณ 147 ล้านกิโลเมตร
โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีและดวงอาทิตย์ไม่ได้อยู่ตรงศูนย์กลางวงรีพอดี ดังนั้นมี 2 ตำแหน่งที่โลกจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดและไกลดวงอาทิตย์ที่สุดในรอบ 1 ปี จุดที่ใกล้ที่สุด เรียกว่า Perihelion และจุดที่ไกลที่สุด เรียกว่า Aphelion
ในวันนี้ ดวงอาทิตย์จะขึ้นตอนเวลา 06.42 น. และตกเวลา 18.03 น. ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว จุดนี้หลายคนในเมืองไทยมักสับสนและเข้าใจผิดว่าฤดูหนาวเป็นเพราะโลกอยู่ไกลดวงอาทิตย์ แต่ที่จริงแล้วตรงกันข้าม ฤดูหนาวของประเทศไทยโลกจะอยู่ในจุดที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่มากสุด
ดังนั้น ฤดูหนาวไม่ได้เกิดเพราะโลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ที่สุด และฤดูร้อนไม่ได้เกิดเพราะโลกอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด
เนื่องจากแกนหมุนของโลกเอียงทำมุม 23.5 องศา กับระนาบตั้งฉากวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ พื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกจึงได้รับแสงอาทิตย์ในปริมาณต่างกัน ทำให้มีอุณภูมิต่างกัน รวมถึงมีระยะเวลากลางวันและกลางคืนที่ต่างกันด้วย เป็นเหตุให้เกิดฤดูกาลขึ้นบนโลก
อ่านข่าว :
รวมไว้แล้วห้ามพลาด ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ 10 เรื่อง ที่น่าติดตามในปี 2568
"นาซา" ส่งยานสำรวจ บินเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดเป็นประวัติการณ์
วันนี้ (3 ม.ค.2568) นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้จัดการศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) เปิดเผยว่า หลังเที่ยงคืนของวันที่ 3 ม.ค.2568 ตั้งแต่เวลา 02.00 น. เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 4 ม.ค.จะเกิดปรากฏการณ์ “ฝนดาวตกควอดรานติดส์” ศูนย์กลางการกระจายอยู่ระหว่างกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส (Hercules) กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ (Bo?tes) และกลุ่มดาวมังกร (Draco)
เริ่มสังเกตได้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ คาดว่าจะมีอัตราการตกสูงสุด 80 ดวงต่อชั่วโมงและไร้แสงจันทร์รบกวน เหมาะแก่การสังเกตการณ์ โดยสามารถชมด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศ พร้อมแนะนำให้ชมในสถานที่ท้องฟ้ามืดสนิท ไม่มีแสงไฟรบกวน
ฝนดาวตกควอดรานติดส์ เป็นฝนดาวตกที่เกิดขึ้นเป็นประจำในช่วงวันที่ 28 ธ.ค. - 12 ม.ค.ของทุกปี และมักมีอัตราการตกสูงสุดในช่วงวันที่ 3-4 มก.ค. สาเหตุเกิดจากโลกเคลื่อนที่ตัดเข้ากับสายธารเศษอนุภาคที่ดาวเคราะห์น้อย 2003 EH1 เหลือทิ้งไว้ขณะเดินทางผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นในทุก 5.5 ปี เมื่อโลกโคจรผ่านเส้นทางดังกล่าว แรงดึงดูดของโลกจะดึงฝุ่นและหินเข้ามาเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศโลก เกิดเป็นลำแสงวาบที่คนบนโลกเรียก “ดาวตก”
ฝนดาวตกแตกต่างจากดาวตกทั่วไป คือ เป็นกลุ่มดาวตกที่มีทิศทางเหมือนมาจากจุดๆ หนึ่งบนท้องฟ้า เรียกว่า จุดศูนย์กลางการกระจาย (Radiant) เมื่อจุดศูนย์กลางการกระจายตรงหรืออยู่ใกล้เคียงกับกลุ่มดาวใด ก็จะเรียกชื่อฝนดาวตกตามกลุ่มดาวนั้นๆ
สำหรับชื่อของฝนดาวตกควอดรานติดส์ ตั้งชื่อตามกลุ่มดาวควอดแดรนส์ มูราลิส (Quadrans Muralis) หรือกลุ่มดาวเครื่องมือเดินเรือ เป็นกลุ่มดาวที่ปรากฏในแผนที่ดาวในช่วงศตวรรษที่ 19 ซึ่งปัจจุบันยกเลิกไปแล้ว หากเทียบกับแผนที่ดาวปัจจุบันจะอยู่ระหว่างกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์และกลุ่มดาวมังกร
อ่านข่าว
ฝุ่น PM 2.5 กทม.เกินค่ามาตรฐาน 61 พื้นที่ มากสุด "หนองแขม"
กรมธนารักษ์เปิดจองเหรียญฯที่ระลึก150 ปี รัชกาลที่ 5 เริ่ม 6 ม.ค.นี้
สิ้น "อักเนส เคเลติ" นักกีฬาเหรียญทองโอลิมปิกอายุมากสุด 103 ปี
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) เปิด 10 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าติดตามในปี 2568 มีอะไรที่น่าสนใจและห้ามพลาดบ้างไปดูกัน
เปิดศักราชมาด้วย 2 ปรากฏการณ์เกี่ยวกับ ดาวอังคาร ในคืนวันที่ 12 มกราคม 2568 ดาวอังคารจะโคจรมาอยู่ตำแหน่งใกล้โลกที่สุด ระยะห่างประมาณ 96 ล้านกิโลเมตร จากนั้นจะโคจรไปอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์วันที่ 16 มกราคม 2568 ช่วงดังกล่าวสามารถสังเกตการณ์ดาวอังคารได้ตลอดทั้งคืน ปรากฏสว่างเป็นสีส้มแดงบนฟ้า หากชมผ่านกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายตั้งแต่ 100 เท่าขึ้นไป จะเห็นพื้นน้ำแข็งสีขาวบริเวณขั้วของดาวอังคารได้ ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นทุก ๆ ประมาณ 26 เดือน
เกิดขึ้น 2 ครั้งในรอบปีนี้ ครั้งแรกช่วงหัวค่ำวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2568 ทางทิศตะวันตก และช่วงรุ่งเช้า วันที่ 24 เมษายน 2568 ทางทิศตะวันออก
ช่วงวันที่ 23 - 24 มีนาคม 2568 ดาวเสาร์จะปรากฏเสมือนไร้วงแหวน เป็นมุมมองจากโลกที่จะเห็นลักษณะนี้ทุก ๆ 15 ปี แต่ช่วงวันดังกล่าวดาวเสาร์อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ จึงขึ้นและตกในเวลากลางวัน ส่งผลให้สังเกตการณ์ได้ยาก ผู้สนใจแนะนำชมช่วงดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปีวันที่ 21 กันยายน 2568
วันที่ 21 กันยายน 2568 ดาวเสาร์จะโคจรมาอยู่ตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ (Saturn Opposition) จึงมีระยะใกล้โลกที่สุดในรอบปี ห่างจากโลกประมาณ 1,279 ล้านกิโลเมตร สังเกตการณ์ได้ตลอดทั้งคืน และแม้ว่าช่วงดังกล่าวจะไม่ปรากฏเสมือนไร้วงแหวน แต่ระนาบวงแหวนยังคงมีมุมเอียงที่น้อย จึงจะเห็นเป็นดาวเสาร์พร้อมวงแหวนบาง ๆ
ไฮไลต์เด่นที่น่าจับตาที่สุดในปีนี้ เป็นจันทรุปราคาเต็มดวงในไทยที่เกิดขึ้นครั้งแรกในรอบสามปี (ล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2565) เกิดขึ้นในคืนวันที่ 7 - เช้ามืด 8 กันยายน 2568 เวลาประมาณ 22:29 น. ถึง 03:55 น. (ตามเวลาประเทศไทย) คราสเต็มดวงเวลาประมาณ 00:31 ถึง 01:53 น. ช่วงดังกล่าวดวงจันทร์เต็มดวงจะปรากฏเป็นสีแดงอิฐ นาน 1 ชั่วโมง 22 นาที ประเทศไทยมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าตลอดปรากฏการณ์
ปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี (Micro Full Moon) ตรงกับวันที่ 13 เมษายน 2568 ดวงจันทร์เต็มดวงจะมีขนาดปรากฏเล็กว่าปกติเล็กน้อย และปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี (Super Full Moon) ตรงกับวันที่ 5 พฤศจิกายน 2568 ดวงจันทร์เต็มดวงจะมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย
ฝนดาวตกเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี เกิดจากโลกโคจรเข้าตัดผ่านสายธารเศษหินและฝุ่นในอวกาศที่ดาวเคราะน้อยและดาวหางทิ้งไว้ ไฮไลต์เด่นของฝนดาวตกในปี 2568 คือ “ฝนดาวตกเจมินิดส์” (อัตราการตก 150 ดวงต่อชั่วโมง) คืนวันที่ 14 - 15 ธันวาคม 2568 ปีนีี้ไม่มีแสงจันทร์รบกวน
ในปี 2568 มีปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน และดาวเคราะห์ชุมนุมให้ชมตลอดทั้งปี ได้แก่ 4 ม.ค. 68 ดวงจันทร์เคียงดาวเสาร์ / 18 ม.ค. 68 ดาวศุกร์เคียงดาวเสาร์ / 1 ก.พ. 68 ดวงจันทร์เคียงดาวเสาร์ / 11 เม.ย. 68 ดาวพุธเคียงดาวเสาร์ / 25 เม.ย. 68 ดวงจันทร์เคียงดาวศุกร์และดาวเสาร์ / 26 เม.ย. 68 ดวงจันทร์เคียงดาวพุธ / 29 เม.ย. 68 ดาวศุกร์เคียงดาวเสาร์ / 2 พ.ค. 68 ดวงจันทร์เคียงดาวพอลลักซ์และคาสเตอร์ (ปรากฏคล้ายพระจันทร์ยิ้ม) / 23 พ.ค. 68 ดวงจันทร์เคียงดาวเสาร์ / 24 พ.ค. 68 ดวงจันทร์เคียงดาวศุกร์ / 1 มิ.ย. 68 ดวงจันทร์เคียงดาวอังคาร / 12 ส.ค. 68 ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดี
ประเทศไทยมีช่วงที่ดวงอาทิตย์ผ่านจุดเหนือศีรษะ 2 ครั้งในรอบปี ครั้งแรกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม เริ่มจากภาคใต้ไล่ขึ้นไปเรื่อย ๆ กรุงเทพฯ ตรงกับวันที่ 27 เมษายน 2568 และจบที่ภาคเหนือในเดือนพฤษภาคม ส่วนครั้งที่สองอยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน โดยเริ่มจากภาคเหนือปลายเดือนกรกฎาคม ไล่ลงไปจนถึงกรุงเทพฯ ตรงกับวันที่ 16 สิงหาคม 2568 และจบที่ภาคใต้ในช่วงเดือนกันยายน ช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ผ่านจุดเหนือศีรษะ (ตั้งฉากกับประเทศไทย) จะแตกต่างกันไปแต่ละพื้นที่ สังเกตได้จากเงาจะตกอยู่ใต้วัตถุพอดีเสมือนไร้เงา
วันที่กำหนดฤดูกาลต่าง ๆ ของโลกในปี 2568 มีดังนี้
อ่านข่าว : เผยภาพถ่ายดาวเทียมที่เกิดเหตุ ""Jeju Air" ไถลรันเวย์
ปีใหม่ 2568 ลอกคราบเหมือนงู! เริ่มต้นชีวิตใหม่ "เปลี่ยนแปลง-เติบโต"
10 บทสวดมนต์ข้ามปี ชวนเติมพลังใจเริ่มต้นปีใหม่ 2568
องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (นาซา) เปิดเผยว่า ยานสำรวจพาร์คเกอร์ โซลาร์ โพรบ (Parker Solar Probe - PSP) ปลอดภัยดีและทำงานได้ตามปกติ หลังทำภารกิจบินเข้าใกล้ดวงอาทิตย์สำเร็จ จนกลายเป็นวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นที่ได้เฉียดเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดเท่าที่เคยมีมา
ยานลำนี้บินเข้าใกล้พื้นผิวดวงอาทิตย์ในระยะ 6.1 ล้านกิโลเมตร เมื่อวันที่ 24 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยบินผ่านบรรยากาศชั้นนอกสุดของดวงอาทิตย์ที่เรียกว่า "โคโรนา" เพื่อช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกที่สุดดวงนี้
ยานสำรวจลำนี้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 692,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และทนความร้อนได้สูงถึง 982 องศาเซลเซียส ตัวยานขึ้นสู่อวกาศในตั้งแต่ปี 2018 และค่อย ๆ โคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงจากดาวศุกร์ ช่วยดึงวงโคจรให้แคบลง และคาดว่าจะบินเฉียดดวงอาทิตย์อีกหลายครั้ง เพื่อเก็บข้อมูลปรากฏการณ์พิเศษต่าง ๆ เพิ่มเติม
อ่านข่าว : หยุดปีใหม่ นักท่องเที่ยวไหว้พระขอพร-ชมความงามวัดพระแก้ว
พิกัดสถานที่ "เคานต์ดาวน์" ร่วมส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2568
"ยายแบงค์" รับมอบเงินจาก "เอ็ม เอกชาติ" ปิดหนี้บ้าน 2.8 แสน
วันนี้ (28 ธ.ค.2567) เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) โพสต์ข้อความว่า ร่วมลุ้นชมดาวหางดวงใหม่ ขณะนี้กำลังโคจรเข้าสู่ระบบสุริยะชั้นใน และกำลังมีความสว่างปรากฏเพิ่มมากขึ้น
โดยในช่วงต้นเดือน ม.ค.2568 อาจมีความสว่างใกล้เคียงเทียบเท่าดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส ที่เพิ่งจะปรากฏโดดเด่นบนท้องฟ้าในช่วงเดือนต.ค.ที่ผ่านมา
ดาวหางดวงนี้มีชื่อว่า “ดาวหางแอตลัส G3” หรือชื่อทางการคือ “Comet C/2024 G3 (ATLAS)” ค้นพบเมื่อวันที่ 5 ธ.ค.2567 โดยเครือข่ายกล้อง โทรทรรศน์ ATLAS ในขณะนั้นดาวหางมีค่าแมกนิจูดปรากฏ 19 (ริบหรี่กว่าดาวพลูโตที่มีค่าแมกนิจูดปรากฏเฉลี่ยที่ 15.1) และอยู่ห่างจากโลก 4.4 หน่วยดาราศาสตร์
ล่าสุดข้อมูลจากการสังเกตการณ์ ณ วันที่ 21 ธ.ค.ที่ผ่านมาพบว่า ดาวหางแอตลัส G3 มีความสว่างเพิ่มมากขึ้น มีแมกนิจูดปรากฏประมาณ 8.1 (ประมาณความสว่างของดาวเนปจูน) ปรากฏอยู่ในกลุ่มดาวแมงป่อง
โดยดาวหางจะสว่างมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่กำลังมุ่งหน้าสู่ระบบสุริยะชั้นใน และจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในวันที่ 13 ม.ค.2568 ที่ระยะห่าง 13.5 ล้านกิโลเมตร (ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าระยะห่างเฉลี่ยของดาวพุธจากดวงอาทิตย์ถึง 4 เท่า) ช่วงเวลาดังกล่าวจะเป็นช่วงที่ดาวหางมีความสว่างมากที่สุด
นอกจากนี้ หากดาวหางแอตลัส G3 สามารถฝ่าความร้อนจากดวงอาทิตย์ในช่วงที่เฉียดเข้าใกล้มากที่สุด โดยไม่แตกหรือสลายตัวเสียก่อน ดาวหางดวงนี้อาจสว่างได้มากถึงระดับแมกนิจูดปรากฏราว-3 (สว่างกว่าดาวพฤหัสบดี) ไปจนถึง -4.5 (ประมาณความสว่างดาวศุกร์)
ซึ่งความสว่างของดาวหางจะเพิ่มขึ้น จากปริมาณฝุ่นและแก๊สที่ฟุ้งกระจายมากยิ่งขึ้น ร่วมกับการกระเจิงแสงอาทิตย์ผ่านหางที่ทอดยาว และบรรยากาศชั้นโคมา ที่ฟุ้งบริเวณหัวดาวหาง เช่นเดียวกับกรณีดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัสขณะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ในเดือนต.ค.ที่ผ่านมา
แต่เนื่องจากในช่วงที่ดาวหางเฉียดเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ จะมีตำแหน่งปรากฏอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มาก (ประมาณ 5 องศา) ทำให้การตามดูดาวหางในช่วงเวลาดังกล่าวอาจทำได้ยาก เนื่องจากมีแสงของดวงอาทิตย์รบกวน
ดังนั้นภาพถ่ายจากยานโซโห ที่เฝ้าติดตามและถ่ายภาพห้วงอวกาศรอบ ๆ ดวงอาทิตย์ ก็อาจเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ดีในการติดตามภาพถ่ายของดาวหางดวงนี้ โดยดาวหางแอตลัส G3 จะปรากฏอยู่ในมุมมองกล้องถ่ายภาพโคโรนาของยานโซโหในช่วงวันที่ 11-14 ม.ค.2568
หลังจากนั้น เนื่องจากดาวหางมีการโคจรขาออกมุ่งหน้าลงทางทิศใต้ ทำให้มุมเงยของดาวหางในช่วงหัวค่ำ เหนือขอบฟ้าทางตะวันตกเฉียงใต้ ค่อนข้างต่ำมาก (ในบริเวณแสงสนธยาเหนือขอบฟ้า) จึงอาจสังเกตได้ยากมาก ยิ่งกว่ากรณีดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส (ที่มีการโคจรขาออกมุ่งหน้าไปทางเหนือ)
การคำนวณวงโคจรของดาวหางแอตลัสในช่วงแรกบ่งชี้ว่า ดาวหางดวงนี้โคจรเข้ามาจาก “เมฆออร์ต” ในบริเวณขอบนอกสุดของระบบสุริยะ ซึ่งมีวัตถุน้ำแข็งขนาดเล็กจำนวนมากและเป็นแหล่งก่อกำเนิดดาวหางคาบยาวหลายดวง
เบื้องต้นนักดาราศาสตร์คาดว่า อาจเป็นครั้งแรกที่ดาวหางแอตลัส G3 โคจรเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน แต่ในที่สุดการสังเกตการณ์ดาวหางแอตลัสเพิ่มเติมในเวลาต่อมา บ่งชี้ว่าดาวหางแอตลัส G3 อาจเคยโคจรเข้ามาระบบสุริยะชั้นในแล้วเมื่อประมาณ 135,000-160,000 ปีก่อน
ข้อมูลเพิ่มเติม
https://skyandtelescope.org/.../comet-atlas-c-2024-g3...
http://www.aerith.net/comet/catalog/2024G3/2024G3.html
วันนี้ (22 ธ.ค.2567) เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยจากกรณีมีผู้พบเห็นแสงปริศนาเหนือฟ้าเมืองไทย ลักษณะเป็นแสงสีขาว มีจุดสว่างหนึ่งจุด พร้อมฝ้าลักษณะฟุ้งออกไปรอบ ๆ เริ่มปรากฏให้เห็นทางทิศตะวันตกใกล้กับตำแหน่งของดาวศุกร์ จากนั้นเคลื่อนไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ก่อนจะหายลับไป มีผู้พบเห็นในหลายจังหวัดทั่วประเทศไทย เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.ที่ผ่านมา
จากการตรวจสอบ พบว่าเมื่อเวลา 18.34 น.ตามเวลาของประเทศไทย SpaceX บริษัทเอกชนด้านเทคโนโลยีอวกาศในสหรัฐฯ ได้ปล่อยจรวดฟัลคอน 9 (Falcon 9) จากฐานปล่อยจรวดในฐานทัพอวกาศฟานเด็นเบร็ค (Vandenberg Space Force Base) รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา จากช่วงเวลาที่มีผู้พบเห็นแสงปริศนา ประกอบกับลักษณะของแสงกล่าว คาดว่าจะเป็นแสงที่ไอพ่นจรวดสะท้อนแสงอาทิตย์เมื่อจรวดอยู่ในอวกาศ เช่นเดียวกันกับกรณีที่มีผู้พบเห็นแสงปริศนาเมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2567 ที่ผ่านมา
สำหรับเที่ยวบินของ SpaceX ครั้งนี้มีชื่อว่า Bandwagon-2 บรรทุกดาวเทียมจำนวนมากจากลูกค้าที่เป็นหน่วยงานหรือบริษัทจากชาติต่าง ๆ เข้าสู่วงโคจรระดับต่ำรอบโลก (LEO) ตัวอย่างของดาวเทียมเหล่านี้ ได้แก่
- 425 Project SAR Sat 2 : ดาวเทียมสังเกตการณ์ทางทหาร ของกระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้
- LizzieSat-2 และ LizzieSat-3 : ดาวเทียมด้านอินเตอร์เนต ของ Sidus Space บริษัทเอกชนด้านเทคโนโลยีอวกาศในสหรัฐฯ
- ICEYE-X2 : ดาวเทียมสังเกตการณ์การณ์โลกด้วยระบบเรดาร์ ของ ICEYE บริษัทด้านการสังเกตการณ์โลก รวมถึงการผลิตและจัดการดาวเทียมขนาดเล็ก ในฟินแลนด์
- Hawk 11A,11B,11C : ดาวเทียมด้านข่าวกรองทางสัญญาณ จาก HawkEye 360 บริษัทเอกชนสหรัฐฯ ด้านการเก็บ-วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาตำแหน่งด้วยสัญญาณคลื่นวิทยุ โดยใช้เครือข่ายดาวเทียม
- Crocube : ดาวเทียมขนาดเล็กสำหรับสังเกตการณ์โลกดวงแรก ของประเทศโครเอเชีย
- LASARSat : ดาวเทียมขนาดจิ๋วสำหรับสาธิตเทคโนโลยี ของประเทศเช็กเกีย
- XCUBE-1 : ดาวเทียมขนาดจิ๋วสำหรับสังเกตการณ์โลก ของ Xplore บริษัทเอกชนด้านเทคโนโลยีอวกาศในสหรัฐฯ
จะเห็นได้ว่ามีโอกาสพบเห็นแสงในลักษณะนี้ได้บ่อยยิ่งขึ้นในยุคที่เทคโนโลยีอวกาศกำลังก้าวหน้า ถือเป็นเรื่องปกติ และไม่ต้องตื่นตระหนก
อ่านข่าว :
22 ธ.ค.67 "วันเหมายัน" กลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี
ส่งชุดตรวจคัดกรอง "โรคไต" ฝีมือคนไทยแจกในร้านขายยา สปสช.
ในวันที่ 22 ธันวาคม 2567 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) เปิดเผยว่า เป็น วันเหมายัน (อ่านว่า เห-มา-ยัน) หรือ Winter Solstice เป็นวันที่มีช่วงเวลากลางวันสั้นที่สุด และมีช่วงเวลากลางคืนยาวนานที่สุดของปี เนื่องจากดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด และตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด ผู้สังเกตบนโลกจะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้น และตกโดยเฉียงไปทางทิศใต้ ไม่ผ่านกลางศีรษะ
สำหรับคนไทย เรียกวันนี้ว่า "ตะวันอ้อมข้าว" เนื่องจาก เห็นเหมือนดวงตะวันอ้อมนาข้าวในแต่ละวัน ดวงอาทิตย์จะปรากฏอยู่ตำแหน่งที่ต่างกัน เปลี่ยนตำแหน่งไปประมาณวันละ 1 องศา ตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นมา ดวงอาทิตย์ค่อย ๆ เคลื่อนที่จากจุดตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกลงมาทางใต้ สังเกตได้จากท้องฟ้าในช่วงนี้จะมืดเร็วขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนมา ณ ตำแหน่งเฉียงไปทางทิศใต้มากที่สุดในวันเหมายันของแต่ละปี วันดังกล่าวจึงมีเวลากลางคืนที่ยาวนานที่สุด และมีเวลากลางวันที่สั้นที่สุด
สำหรับวันเหมายันปีนี้ ดวงอาทิตย์จะขึ้นเวลาประมาณ 06.37 น. และจะตกลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 17.56 น. (เวลา ณ กรุงเทพฯ) มีช่วงเวลากลางวันเพียงประมาณ 11 ชั่วโมง 19 นาที นอกจากนี้ ยังนับเป็นวันย่างเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศทางซีกโลกใต้
ฤดูกาลบนโลกนั้น เกิดจากแกนโลกเอียงทำมุม 23.5 องศา กับแนวตั้งฉากกับระนาบโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทำให้พื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกได้รับแสงอาทิตย์ในปริมาณไม่เท่ากัน ส่งผลให้มีอุณภูมิต่างกัน รวมถึงระยะเวลากลางวันและกลางคืนก็ต่างกันด้วย เหตุนี้ทำให้เกิดฤดูกาลขึ้นบนโลกนั่นเอง จะสังเกตได้ว่าในฤดูร้อนดวงอาทิตย์จะขึ้นเร็วและตกช้า ช่วงเวลากลางวันจะยาวนานกว่ากลางคืน แตกต่างกับฤดูหนาว ที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นช้าและตกเร็ว และมีช่วงเวลากลางคืนจะยาวนานกว่ากลางวัน
ในรอบ 1 ปี เกิดปรากฏการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์ ดังนี้
1. วันวสันตวิษุวัต (วะ-สัน-ตะ-วิ-สุ-วัด) (Vernal Equinox) ในปี 2567 ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกพอดี ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันเท่ากับกลางคืนพอดี นับเป็นวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วงของประเทศในซีกโลกใต้
2. วันครีษมายัน (ครีด-สะ-มา-ยัน) (Summer Solstice) ในปี 2567 ตรงกับวันที่ 21 มิถุนายน เป็นวันที่ ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันยาวที่สุดในรอบปี สำหรับประเทศทางซีกโลกเหนือ นับเป็นวันที่ เข้าสู่ฤดูร้อน ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้เข้าสู่ฤดูหนาว
3. วันศารทวิษุวัต (สาด-ทะ-วิ-สุ-วัด) (Autumnal Equinox) ในปี 2567 ตรงกับวันที่ 22 กันยายน เป็นวันที่ ดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออก และตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกพอดี ส่งผลให้มีช่วงเวลากลางวันและกลางคืนยาวนานเท่ากัน นับเป็นวันเริ่มต้นสู่ฤดูใบไม้ร่วงของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเริ่มต้นสู่ฤดูใบไม้ผลิของประเทศในซีกโลกใต้
4. วันเหมายัน (เห-มา-ยัน) (Winter Solstice) ในปี 2567 ตรงกับวันที่ 22 ธันวาคม ดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด และตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด ส่งผลให้ช่วงเวลากลางคืนยาวที่สุดในรอบปี หรือที่คนไทยเรียกว่า "ตะวันอ้อมข้าว" นับเป็นวันเปลี่ยนฤดูกาลย่างเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศทางซีกโลกเหนือ และย่างเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศทางซีกโลกใต้
อ่านข่าว ปิดด่านไทย-เมียนมา อหิวาตกโรคระบาดเมียวดี ป่วย 300 ตาย 2 คน
22 ธ.ค.67 "วันเหมายัน" กลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี ทำไมถึงเรียก "ตะวันอ้อมข้าว"
ทอ.ส่ง F-16 บินพิสูจน์-สกัดอากาศยานไม่ทราบฝ่าย ชายแดนไทย-เมียนมา
วันนี้ (18 ธ.ค.2567) ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย ผอ.ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พร้อมตัว แทนจากสภาเภสัชกรรม ส่งมอบชุดตรวจคัดกรองโรคไต ที่พัฒนาและผลิตในไทย เข้าสู่ระบบสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ผ่านร้านขายยาในโครงการพื้นที่ สปสช.เขต 7 ขอนแก่นนำร่อง 3,000 ชุด
โดยชุดตรวจคัดกรองโรคไตดังกล่าว ดร.เดือนเพ็ญ จาปรุง เป็นผู้ขับเคลื่อนโดยต่อยอดงานวิจัย AL-Strip ของดร.สาธิตา ตปนียากร เป็นชุดตรวจโรคไตเชิงคุณภาพที่ประชาชนใช้ตรวจคัดกรองโรคด้วยตัวเอง รู้ผลตรวจภายใน 5 นาที
ทันตแพทย์หญิงน้ำเพชร ตั้งยิ่งยง ผอ.ฝ่ายสนับสนุนบริการปฐมภูมิและการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค กล่าวว่า สปสช.เพิ่มชุดตรวจสุขภาพด้วยตนเองมาแล้วหลายรายการ ทั้งชุดตรวจเอชไอวี ชุดเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยตนเองเพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ชุดตรวจคัดกรองพยาธิใบไม้ตับจากปัสสาวะด้วยตนเอง และชุดตรวจโรคไต
ส่วน ภก.ปรีชา พันธุ์ติเวช นายกสภาเภสัชกรรม กล่าวว่า การผลักดันการใช้ประโยชน์ชุดตรวจคัดกรองโรคไต เป็นเครื่องมือสำคัญในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคไตแบบครบวงจร โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมิ.ย.2568 และจะผลักดันเข้าเป็นสิทธิประโยชน์ในหลักประกันสุขภาพ
อ่านข่าว
เฝ้าระวัง "โบคาไวรัส" เชื้อก่อโรคทางเดินหายใจในเด็ก
"หมอยง" ชี้โนโรไวรัสไม่ใช่โรคใหม่ ระบาดในฤดูหนาว ชี้ยังไม่มีวัคซีน
วันนี้ (7 ธ.ค.2568) นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้จัดการศูนย์บริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) เปิดเผยว่า คืนวันที่ 7-8 ธ.ค.2567 ดาวพฤหัสบดีจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ หมายถึง ตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์ โลกและดาวพฤหัสบดี เรียงอยู่ในเส้นตรงเดียวกัน มีโลกอยู่ตรงกลาง ส่งผลให้ดาวพฤหัสบดีอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี ห่างจากโลกประมาณ 611.76 ล้านกิโลเมตร
ในวันดังกล่าว เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ดาวพฤหัสบดีจะปรากฏสว่างทางทิศตะวันออก สังเกตได้ด้วยตาเปล่า นานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า
หากมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้วที่มีกำลังขยายตั้งแต่ 30 เท่าขึ้นไป จะสามารถสังเกตเห็น “ดวงจันทร์กาลิเลียน” ทั้ง 4 ดวง ได้แก่ ไอโอ ยูโรปา แกนีมีด คัลลิสโต รวมถึง “แถบเมฆ” ที่สวยงามของดาวพฤหัสบดี และหากใช้กำลังขยาย 100 เท่าขึ้นไป จะสามารถเห็น “จุดแดงใหญ่” พายุหมุนยักษ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าโลกถึง 1.3 เท่า ได้อย่างชัดเจน
สดร.เตรียมตั้งกล้องโทรทรรศน์หลากหลายขนาด จัดกิจกรรมชมดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี รวม 6 จุดสังเกตการณ์ทั่วประเทศ ในคืนวันที่ 7 ธ.ค.นี้ ทุกแห่งเข้าร่วมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยผู้สนใจสามารถเข้าร่วมได้ในแต่ละแห่ง ดังนี้
- กรุงเทพฯ : งาน “ดูดาวกลางกรุง” Starry Night over Bangkok 2024 ณ ลานอัฒจันทร์ สวนเบญจกิติ เวลา 17.00 - 22.00 น. โดยลงทะเบียนร่วมงานได้ที่ https://bit.ly/StarryNightoverBKK2024-Reg ดูรายละเอียดกิจกรรมได้ทางเพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ https://www.facebook.com/NARITpage และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง Line Official https://lin.ee/ImihHgp
- เชียงใหม่ : อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ เวลา 18:00 - 22:00 น. โทร. 084-0882261
- นครราชสีมา : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา เวลา 18.00 - 22.00 น. โทร. 086-4291489
- ขอนแก่น : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ขอนแก่น เวลา 18.00 - 22.00 น. โทร. 063-8921854
- ฉะเชิงเทรา : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา เวลา 18.00 - 22.00 น. โทร. 084-0882264
- สงขลา : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา เวลา 18.00 - 22.00 น. โทร. 095-1450411
นอกจากนี้ สามารถชม Live ปรากฏการณ์ได้ทางเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ https://www.facebook.com/NARITpage
อ่านข่าว
7 ธ.ค.นี้ ชวนดูดาวกลางกรุง ที่สวนเบญจกิติ คืนดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี
"โดรน" ยุทธภัณฑ์สงคราม เทคโนโลยีความมั่นคง "กองทัพไทย"
คืนชีพ "นอเทรอดาม" ฝรั่งเศสเตรียมพิธีเปิดยิ่งใหญ่ต้อนรับผู้นำโลก
วันนี้ (4 ธ.ค.2567) ผศ.ดร.วิภู รุโจปการ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์ กล่าวว่า งานดูดาวกลางกรุง จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อเดือน ธ.ค.2566 ได้รับการตอบรับจากชาวกรุงเทพฯ และใกล้เคียง ให้ความสนใจมาร่วมดูดาวกันอย่างล้นหลามกว่า 12,000 คน ในปี 2567 สดร. จึงร่วมกับ กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานพันธมิตร เนรมิตกรุงเทพฯ เป็นมหานครแห่งดวงดาวอีกครั้ง กับกิจกรรม "ดูดาวกลางกรุง : Starry Night over Bangkok 2024" ในวันเสาร์ที่ 7 ธ.ค.2567 เวลา 17.00 - 22.00 น. บริเวณลานอัฒจันทร์กลาง สวนเบญจกิติ กรุงเทพฯ
ความพิเศษในปีนี้คือตรงกับคืนที่มีปรากฏการณ์ "ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี" ดาวพฤหัสบดีจะปรากฏสว่างเด่นทางทิศตะวันออก ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ หากสังเกตการณ์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ จะสามารถชมลวดลายของแถบเมฆ และพายุ รวมถึงจุดแดงใหญ่ และดวงจันทร์กาลิเลียนทั้ง 4 ดวงของดาวพฤหัสบดีได้
วันงานจะมีคาราวานกล้องโทรทรรศน์กว่าร้อยตัวจาก สดร. โรงเรียนเครือข่ายดาราศาสตร์ รวมถึงหน่วยงานพันธมิตร และนักดาราศาสตร์สมัครเล่น พร้อมให้บริการเต็มพื้นที่ลานอัฒจันทร์กลาง ในคืนดังกล่าวยังสามารถชมวัตถุท้องฟ้าอื่น ๆ เช่น ดวงจันทร์ ดาวศุกร์ ดาวเสาร์ ดาวอังคาร ฯลฯ ได้อีกด้วย
ภายในงานยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจอีก ถ่ายภาพดวงจันทร์ ดาวเสาร์ และดาวพฤหัสบดีผ่านโทรศัพท์มือถือ รู้จักท้องฟ้าและกลุ่มดาวที่น่าสนใจผ่านแอปพลิเคชันดูดาว "NAPA" เรียนรู้ดูดาวด้วยตาเปล่า เก็บภาพความประทับใจกับบอลลูนดาวเคราะห์ รู้จักกลุ่มดาวผ่าน Stellar Light Box สนุกกับ Glow in the Dark ฟังทอล์ก "มหัศจรรย์ดาวพฤหัสบดี"
นอกจากนี้ ยังมีหน่วยพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนที่ยกขบวนมาร่วมจัดกิจกรรมสุดพิเศษในค่ำคืนดังกล่าว อาทิ Night Nature Walk สำรวจธรรมชาติยามค่ำคืนบนพื้นที่สวนกลางเมือง โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เป็นต้น และ พิเศษลุ้นรับกล้องโทรทรรศน์ และของที่ระลึกสุดพิเศษภายในงาน ผู้สนใจเข้าร่วมงานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
ด้านนายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า งานดูดาวกลางกรุง ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมดูดาวที่ใหญ่ที่สุดที่เคยจัดในกรุงเทพมหานคร และใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีประชาชนให้ความสนใจ และเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก เนื่องจากในพื้นที่เมืองมีแสงรบกวนค่อนข้างมาก มองเห็นดาวได้ค่อนข้างยาก การจัดกิจกรรมดังกล่าวถือว่าตอบโจทย์ชาวกรุง และยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้ประชาชนไทยหันมาสนใจดาราศาสตร์ และวิทยาศาสตร์มากขึ้นผ่านกิจกรรมดังกล่าว
ดูดาวกลางกรุง ครั้งนี้เป็นหนึ่งในกิจกรรมภายใต้เทศกาล Colorful Bangkok หรือเทศกาลศิลปวัฒนธรรม ในปีนี้ด้วย ซึ่งเทศกาลศิลปวัฒนธรรมจัดขึ้นเป็นปีที่ 3 ในช่วงเดือน พ.ย. - ม.ค. โดยกรุงเทพฯ ร่วมกับเครือข่ายทั้งรัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม ประสานพลังจัดกิจกรรมต่างๆ เปิดพื้นที่สาธารณะ เพื่อให้ความสร้างสรรค์เกิดขึ้นอย่างหลากหลายทั่วทุกมุมเมือง
ปีนี้ กทม. อำนวยความสะดวกการใช้พื้นที่บริเวณลานอัฒจันทร์ ภายในสวนป่าเบญจกิติ เป็นสถานที่จัดกิจกรรมเช่นเคย เนื่องจากที่เป็นพื้นที่โล่ง รองรับประชาชนได้จำนวนมาก การจัดงานครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน เพื่ออำนวยความสะดวกในเรื่องห้องน้ำ เทศกิจ รวมถึงพื้นที่จอดรถต่าง ๆ ที่จะรองรับผู้มาร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากในปีนี้ และขอเชิญชวนผู้สนใจมาร่วมกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งหนึ่งปีจะมีเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
อ่านข่าว : "ไวกิ้ง - แพ๊ดดี้" สุนัขตรวจค้น เสริมทัพกรมศุลกากร สกัดยาเสพติด
"พระเขี้ยวแก้ว" ถึงไทย พร้อมเปิดสักการะ 5 ธ.ค.67 - 14 ก.พ.68
พลันที่กองทัพอากาศ แถลงปรับโครงสร้างและแนวนโยบายปกป้องผลประโยชน์ของชาติทางอวกาศกว่า 29,000 ล้านบาทต่อปี การสื่อสารและถ่ายทอดสัญญาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ 35,600 กิจการ โดยสิ่งที่ต้องทำควบคู่ ปี 2568 คือ การเตรียมจัดตั้ง ศูนย์ประสานงานการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางอากาศและอวกาศ เป็นหน่วยขึ้นตรงของศูนย์ปฏิบัติการกองทัพอากาศ (ศปก.ทอ.) และให้อยู่อำนาจของผู้บัญชาการทหารอากาศ ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2568 และจัดทำร่าง พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่…) พ.ศ. … เปลี่ยนชื่อ "กองทัพอากาศ" เป็น "กองทัพอากาศและอวกาศ"
ทำให้มีคำถามว่า ขณะนี้กองทัพไทยและประเทศไทยมีศักยภาพและความพร้อมเตรียมในการรับมือด้านความมั่นคงทางอวกาศ และกิจการอวกาศ รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากเศรษฐกิจอวกาศมากน้อยเพียงใด
สำหรับประเทศไทยภารกิจด้านกิจการอวกาศ พบมี 4 กลุ่มงาน คือ กลุ่มงานด้านดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร, กลุ่มงานระบบดาวเทียมเพื่อสำรวจทรัพยากร ในความรับผิดชอบของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) , กลุ่มงานดาวเทียมด้านเศรษฐกิจและการวิจัยอวกาศ (ให้บริการ โทรศัพท์ สัญญาณระบบกระจายเสียง ภาพ สื่อ วิทยุโทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ต)
และกลุ่มงานด้านกิจการอวกาศเพื่อความมั่นคง ซึ่งศูนย์ปฏิบัติการอวกาศของกองทัพอากาศ มีหน้าที่รักษาผลประโยชน์แห่งชาติในห้วงอวกาศและความมั่นคงทางอวกาศ เฝ้าระวังทางอวกาศ ค้นหา ติดตาม พิสูจน์ทราบ ภัยคุกคามจากอวกาศ ภารกิจการข่าวกรอง และการลาดตระเวนทางอวกาศ
ไทยพีบีเอสออนไลน์ สัมภาษณ์พิเศษ ดร. ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) GISTDA ถึงความพร้อมของไทยในการนำเทคโนโลยีอวกาศมาใช้ในภารกิจด้านความมั่นคงของกองทัพ ว่า ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลก ไม่ใช่แค่ สหรัฐอเมริกาและจีน ที่มีการจัดตั้งกองทัพอวกาศ แต่ฝั่งกลุ่มยุโรป จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ก็มีเช่นกัน
กองทัพอวกาศมีทำหน้าที่เฝ้าระวังความมั่นคงทางอากาศ เนื่องจากเทคโนโลยีเข้าถึงได้ง่ายและเร็วมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงการใช้อาวุธ จากปืนเป็นโดรนบินสำรวจ มีการใช้มิสไซล์ (missile) หรือ อาวุธปล่อย กำหนดเป้าและนำวิถีอากาศในอวกาศ
ขณะเดียวกัน ภารกิจด้านความมั่นคงในอวกาศจริง ๆ มีหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นสื่อสาร การบล็อกสัญญาณจีพีเอส ตำแหน่ง โลเคชัน อาวุธ การทำลายสัญญาณ รบกวนสัญญาณ การขโมยสัญญาณ การใช้เทคโนโลยีดาวเทียมปฏิบัติการถ่ายภาพพื้นโลกด้วยกล้องที่มีความละเอียดสูง ให้เข้าถึงพื้นที่ปฏิบัติการได้ทั่วโลก โดยสามารถเห็นที่ตั้งของกองทัพ อาวุธ และศักยภาพทั้งหมด
ทั้งหมดข้างต้น ดร.ปกรณ์ บอกว่า กองทัพของไทยมีศักยภาพสูง ในการเข้าถึงเทคโนโลยีดังกล่าว เพราะถือเป็นความมั่นคง หากถามว่าไทยจำเป็นหรือไม่ ที่ต้องมีหน่วยงานความมั่นคงทางด้านอวกาศ ตอบได้เลย จำเป็นมาก หากมีการใช้แบบจริงจังและถูกต้อง ในทุก ๆ ด้าน เช่น การสื่อสาร แจ้งตำแหน่ง และพิกัด
เพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานด้านความมั่นคง เนื่องจากมีองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี เครื่องมือ ซึ่งในอนาคตไทยอาจต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือ กรณีเกิดเหตุที่ไม่คาดคิด เช่น สหรัฐอเมริกา หรือ จีน ทำการปิดสัญญาณจีพีเอส ทำให้การเดินทางในอากาศมีปัญหาต่อสายการบิน และเครื่องบินที่อยู่บนน่านฟ้าจะทำอย่างไร
ดังนั้นกองทัพจึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือเพื่อเตรียมรับสถานการณ์ ความมั่นคง โดยทหารอาจจะแยกศึกษาเฉพาะเทคโนโลยีด้านความมั่นคงอย่างเดียว
แม้ที่ผ่านมา Gisda จะทำงานและร่วมมือกับกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และตำรวจ ในภารกิจแตกต่างกันออกไป รวมทั้งการใช้เครื่องมือตรวจสอบสภาพภูมิประเทศ รับมือปัญหาภับพิบัติและอื่น ๆ ดังนั้น ไทยจึงควรมี และจำเป็นต้องมีอากาศยานหรือดาวเทียมเพื่อใช้งานด้านความมั่นคง
ในส่วนของทหาร เชื่อว่า หลายหน่วยมีองค์ความรู้ที่ดีเพียงพอ ในเรื่องกิจการอวกาศ และสามารถนำไปต่อยอดได้ แต่ต้องลงลึกและทุ่มเทมากกว่านี้ เพราะในเอเชียมีหลายประเทศที่ใช้ดาวเทียมด้านความมั่นคง ทั้ง ไต้หวัน เวียดนาม ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ส่วนใหญ่มีการศึกษาและลงรายละเอียดแบบเจาะลึกกว่าบ้านเรา
"ปกติเราจะใช้สัญญาณจากโทรศัพท์ ตรวจหาตำแหน่งจีพีเอส เพื่อแจ้งตำแหน่งและระยะทางในชีวิตประจำประวันอยู่แล้ว แต่สำหรับภารกิจด้านความมั่นคงจะใช้มากกว่านั้น เช่น อาจมีการใช้ ดาวเทียมลีโอ หรือ ดาวเทียมวงโคจรต่ำ (LOW EARTH ORBIT SATELLITE, LEO SATELLITE) โคจรเหนือ-ใต้ เดิมดาวเทียมดวงนี้จะใช้เพื่อถ่ายรูป แต่ปัจจุบันถูกนำไปใช้ด้านการสื่อสาร ทำหน้าที่โคจรและสื่อสารด้วยตลอดเวลา เทรนด์ใหม่จะเป็นแบบนี้ ตรงนี้เฉพาะด้านความมั่นคงทางอวกาศ ยังไม่ได้ก้าวถึงการสำรวจดวงจันทร์ การใช้พื้นที่อวกาศ หรือ เทคโนโลยีอวกาศ"
ดังนั้น ถ้ามีการแยกภารกิจชัดเจนโดยกองทัพ ทำหน้าที่ศึกษาเทคโนโลยีความมั่นคงด้านอวกาศ ส่วนพลเรือนและภาคเอกชน รับผิดชอบด้านงานวิจัย การศึกษาเรื่องเทคโนโลยีอวกาศจะสามารถพัฒนาและก้าวไปได้ไกลมากกว่าปัจจุบัน
ในส่วนของ Gisda จะมองทุกโจทย์ว่า ประเทศต้องการอะไร ความต้องการซื้อและต้องการขาย เพื่อหาจุดสมดุลว่า เทคโนโลยีที่มีอยู่จะนำไปใช้ในมิติไหนได้บ้าง เพื่อทำหน้าที่หลักในการสนับสนุน ส่งเสริมและดำเนินการ สภาพอวกาศ หรือวัตถุอวกาศ และส่งผลกระทบเร่งด่วนที่ต้องใช้ แม้ว่าจะมีการนำสัญญาณมาประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมสำรวจภาคพื้นดิน
เทคโนโลยีอวกาศ ไม่ได้มีเฉพาะแขนงนี้ ยังมีเรื่องการสื่อสาร การใช้งานนอกโลก เพื่อดึงสัญญาณ หรือ ข้อมูลจากอวกาศมาใช้งาน และ เทคโนโลยีนี้ แม้จะมีข้อดี แต่ยังมีสิ่งที่ต้องระวัง
ดร.ปกรณ์ ระบุว่า สมัยก่อนหากต้องการทราบพิกัดแก๊งคอลเซนเตอร์ ว่า อยู่บริเวณใดจะติดตามได้ไม่ยาก แต่ปัจจุบันไม่ง่าย เพราะเขาอาจใช้สัญญาณผ่านดาวเทียมจากที่อื่น แต่ส่งสัญญาณผ่านเกตเวย์มาได้ เรื่องเทคโนโลยีไม่ใช้ก็เสียโอกาส แต่ถ้านำไปใช้งานมาก ๆ ก็ต้องพึงระวัง ในประเทศไทยมีหน่วยงานหลักที่ต้องรับผิดชอบ คือ กระทรวงดีอี, กสทช.และ Gisda ที่ใช้ภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อแจ้งข้อมูลในกิจการต่าง ๆ การสื่อสาร โทรศัพท์ ผ่านบรอดแคสต์
"ช่วงกลางเดือน ธ.ค.2567 Gisda จะทำ MOU หรือ บันทึกข้อตกลงกับนาซาเรื่องวิจัยและสำรวจอวกาศ OUTER SPACE EXPLORATION เป็นการสำรวจอวกาศของประเทศที่กำลังพัฒนาและพัฒนาแล้ว เพื่อศึกษาว่าหากเกิดอะไรขึ้นกับโลกแล้ว มนุษย์จะอาศัยอยู่ที่ไหน ดวงจันทร์ และดาวอังคาร อาศัยอยู่ได้หรือไม่"
ดร.ปกรณ์ กล่าวว่า การสำรวจในอวกาศจะทำให้เกิดการศึกษา ทดลอง การส่งสัญญาณระยะไกล เป็นอย่างไร การส่งเทคโนโลยีอวกาศออกไปนอกโลก รวมทั้งทดลอง เรื่อง อาหาร เสื้อผ้า และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพราะในอวกาศจะต้องศึกษาว่า สามารถนำไปใช้ได้หรือไม่ ในสภาวะนั้น ๆ
โดยโครงการขนาดนี้จะมีอยู่ 2-3 กลุ่มในสหรัฐอเมริกา เรียกว่า ARTEMIS ส่วนของจีนจะมียานอวกาศฉางเอ๋อ และมีกลุ่มที่เป็นนานาชาติจะดูเรื่อง MAR EXPLORATION ซึ่งในสหรัฐฯ หรือจีน ถือว่าเป็นผู้นำสำคัญ โดยจะเชิญให้นานาชาติเข้าร่วม มีการทำอนุสนธิสัญญาระหว่างประเทศ และข้อตกลงระหว่างประเทศแบบจีทูจี
รัฐบาลมอบหมายให้ Gisda ดำเนินการเรื่องดาวเทียม ARTEMIS ที่อนุมัติมาเมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ถือเป็นก้าวที่สำรวจในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการสำรวจอวกาศระดับนานาชาติ ซึ่งผู้เข้าร่วมมากกว่า 50 ประเทศ
โดย Gisda จะเชิญสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมด้วย เนื่องจากทำในนามประเทศ เช่น อาจมีการศึกษา เรื่อง ผ้ากันความร้อน เมื่อต้องเจอรังสีปริมาณสูง เรื่องอาหาร ให้เหมาะกับความพร้อมและองค์ความรู้ของเรา และอาจทดลองทำภาพถ่ายจากดวงจันทร์ เพื่อนำมาวิเคราะห์ พื้นที่ในดวงจันทร์และอวกาศ
เราคงไม่ส่งยานอวกาศไป แต่จะไม่ตกขบวนความรู้ในเรื่องอวกาศและรู้เท่าทัน เพื่อทราบศักยภาพของตัวเอง ว่ามีหรือไม่ อะไรเหมาะสม ทำได้ หรือ มีสิทธิเข้าถึงหรือไม่
ส่วนการใช้ประโยชน์จากเศรษฐกิจอวกาศ (space economy ) ดร.ปกรณ์ บอกว่า ในสหรัฐอเมริกาจะใช้ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ ธุรกิจ และมีลูกค้ารับซื้อ จากเอกชน ส่วนฝั่งยุโรปจะเรียกว่า space agency หรือ Newspace Economy ซึ่งเป็นบริษัทขนาดเล็ก แต่ไทยเรียกว่า เศรษฐกิจอวกาศ เช่น อาจศึกษาวิจัย เรื่อง Food Economy หรือภาคเอกชนใช้ AI เขียนโปรแกรม และนำข้อมูลอวกาศมาวิเคราะห์ปัญหาน้ำท่วม เพื่อแจ้งเตือนประชาชนล่วงหน้าว่า เกษตรกรจะปลูกพืชอะไร หากต้องเผชิญสภาวะอากาศแปรปรวน
ผู้ที่เห็นโอกาสในอวกาศ จะนำไปสร้างธุรกิจต่อยอดได้ ไม่มีใครห้ามการสื่อสารข้ามประเทศ ดาวเทียมถ่ายได้ทั่วโลก การทำธุรกิจ ไม่ได้หมายความว่า ทำในไทยต้องขายในไทยเสมอไป แต่อาจขายในต่างประเทศได้ นี่คือ เศรษฐกิจอวกาศ
ดร.ปกรณ์ ย้ำว่า การทำเศรษฐกิจอวกาศ กิจการอวกาศ และองค์การอวกาศ ขณะนี้ไทยมีความพร้อมระดับหนึ่ง โดยจิสดา คือ หน่วยงานหลักในการพัฒนาและนำเทคโนโลยีอวกาศมาใช้ ส่วนในเชิงนโยบาย ขณะนี้มี พ.ร.บ.กิจการอวกาศ และคณะกรรมการนโยบายกิจการอวกาศแห่งชาติ ได้ขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวเสร็จสิ้น
โดยรัฐบาลชุดนี้ ได้มีการผลักดันแผนแม่บทกิจการอวกาศ มีแผนงาน 3 ระยะ คือ ระยะสั้น-กลาง-ยาว ใช้เวลาประมาณ 20 ปี ซึ่งสภาพัฒน์ฯ พร้อมเสนอ ครม. และคณะกรรมาธิการกฤษฎีกาพิจารณาระเบียบและข้อกฎหมายเสร็จแล้ว เตรียมเสนอเข้า ครม. และสภา เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย คาดปลายปี 2569 หรือ 2570 อาจจะมีผลบังคับใช้
ข้อดีของการมีกฎหมายอวกาศบังคับใช้ จะทำให้การขับเคลื่อนเชิงนโยบายเรื่องกิจการอวกาศอยู่ในทิศทางเดียวกัน ทั้งด้านนโยบาย กฎหมาย และจำนวนบุคลากรมากกว่า 3,000 คน ที่จบการศึกษาเฉพาะทางด้านสาขาด้านเทคโนโลยีอวกาศโดยตรง จากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศที่เปิดสอนมานานกว่า 10 ปี
นอกจากนี้ ยังมีทรัพยากรบุคคล เครื่องมือ การสร้างดาวเทียม และโรงงานสร้างดาวเทียม มีห้องทดลอง และได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และรัฐบาลในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม หากต้องการขับเคลื่อนเรื่องเทคโนโลยีอวกาศอย่างเข้มข้น คาดว่าต้องทุ่มงบประมาณให้มากกว่านี้
อ่านข่าวอื่น :
“สนธิ” ปลุกม็อบลงถนน ติดไม่ติดคำตอบอยู่ที่รัฐบาล การเมือง 28 พ.ย. 67 15:43 18
ตร.สอบปากคำผู้ต้องหายิง 3 ศพหนองบัวลำภูหลังมอบตัว
เหรียญมีสองด้านเช่นใด AI ก็เป็นแบบนั้น ไม่ว่ามนุษย์จะตื่นเต้นกับการวิจัยและพัฒนาความก้าวหน้าของ AI มากเพียงใด ขณะเดียวกันความหวาดกลัว AI กลับเพิ่มมากขึ้นในสังคมอย่างน่าประหลาด
ไม่ว่าจะเป็นประเด็นของการแย่งตลาดงานของมนุษย์ มีการคาดการณ์ว่า หากใช้ AI มากขึ้น จะทำให้การเรียนรู้ของมนุษย์ลดต่ำลง และหากใช้เพื่อทำทุกอย่างแทน มีแนวโน้มว่า มนุษย์อาจจะถูกครอบงำจนทำอะไรไม่เป็นอีกต่อไป
ด้วยว่าทักษะถึง 5 ประเภทที่ AI ทำได้ดีกว่ามนุษย์ หรือทำได้เหนือกว่า กระทั่งคนที่เก่งกาจในทักษะทั้ง 5 ด้านนี้ในตลาดแรงงานยังไม่อาจต่อกรได้ คือ การอ่านจับใจความ, การเขียน ,การกล่าวสุนทรพจน์, การจดจำภาพ ,การใช้ภาษา หรือการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ซึ่งทักษะเหล่านี้ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของ "ความเป็นมนุษย์" ทั้งสิ้น
แม้จะเข้าใจได้ถึงความอัจฉริยะของ AI หากมีการตั้งคำถามในมุมกลับกันว่า เป็ เป็นไปได้หรือไม่? ที่จะใช้ AI ไม่ใช่ในฐานะของการแทนที่ความเป็นมนุษย์ แต่เป็นการใช้เพื่อ "ยกระดับความงอกงาม (Flourishing)" ของความเป็นมนุษย์
ดร.พัทน์ ภัทรนุธาพร Postdoctoral Research at MIT Media Lab ยกตัวอย่าง AI เปรียบเทียบกับตัวละคร "โดราเอมอน" เพราะไม่ว่าโนบิตะ จะโง่เขลาเบาปัญญาขนาดไหน แต่โดราเอมอนก็ทำให้โนบิตะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น ผ่านการช่วยเหลือด้วยของวิเศษต่าง ๆ ไม่ได้เข้ามาครอบงำโนบิตะโดยสมบูรณ์ กลับกัน โนบิตะได้ประโยชน์จากโดราเอมอนมากกว่าเสียอีก
ดังนั้น AI จึงเป็น Intelligent Augmentation หรือส่วนขยายเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ หรือตามประสงค์ของเราจริง ๆ AI ต้องยกสถานะเป็น AI เพื่อ Human Flourishing หรือการใช้ AI เพื่อความเจริญงอกงามในความเป็นมนุษย์
ดร.พัทน์ กล่าวว่า จริง ๆ แล้ว การสร้างความเจริญงอกงามในความเป็นมนุษย์ทำได้หลายแบบ และที่ช่วยเหลือได้มากที่สุด คือ ประเด็นด้าน "จิตวิทยา" ว่าด้วย กระบวนการคิดและการตัดสินใจ (Cognitive and Decision-making) ของมนุษย์ ซึ่งเดิมเป็นเรื่องยากมาก เพราะต้องอาศัยชุดข้อมูลระดับมหาศาล หรือการคิดให้รอบคอบ ขณะที่สมองของมนุษย์ไม่สามารถที่จะคาดการณ์ (Speculate) ถึงผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการได้โดยง่าย จึงทำให้การตัดสินใจเกิดความผิดพลาดและอาจนึกเสียใจภายหลัง
AI จะเข้ามาช่วยเหลือตรงนี้ ด้วยการสร้างตัวแบบของมนุษย์ในอนาคต เพื่อสร้างตัวเราขึ้นมาในอีก 40-50 ปีข้างหน้า เพื่อสร้างตัวเราในวัยไม้ใกล้ฝั่งที่เพียบพร้อมทั้งประสบการณ์ ความคิดที่ตกผลึก หรือมุมมองที่กว้างกว่าตัวเราในวัยเรียนหรือวัยทำงานในตอนนี้ โดย ดร.พัชน์ เรียกโปรเจ็กต์นี้ว่า "Future You"
จะเป็นเรื่องดีมากขนาดไหน หากมีตัวเราในอนาคต อาจจะวัย 90 ปี เพื่อสอบถามความไม่มั่นใจในการตัดสินใจของเราในตอนนี้ ผมจึงวิจัยและพัฒนา Future You ขึ้นมา เพื่อสร้างตัวแบบที่ไม่ใช่เพียงตัวเราที่แก่ขึ้น แต่จำลองตัวเราที่ผ่านโลกมาช้านาน เพื่อเป็นเหมือนเพื่อนคู่คิด
จากบทความวิจัย Future You: A Conversation with an AI-Generated Virtual Future Self Reduces Anxious Feelings and Increases Motivation พบว่า เมื่อกลุ่มตัวอย่างได้สนทนากับ AI ที่จำลองตนเองในอนาคต มีอัตรา "ความวิตกกังวล (Anxiety)" ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียกับการคุยกับครอบครัว คนรัก เพื่อน การปรึกษานักจิตวิทยา หรือการจัดการด้วยตนเอง มากถึงเกือบ 5 เท่า
ยิ่งไปกว่านั้น การได้คุยกับตนเองในอนาคต ยังช่วยให้เกิด "ความมั่นใจ (Confident)" มากกว่าการคุยกับครอบครัว คนรัก เพื่อน การปรึกษานักจิตวิทยา หรือการจัดการด้วยตนเอง มากเกินกว่า 4 เท่า หมายความว่า กระบวนการคิดและการตัดสินใจของมนุษย์จะเพิ่มมากขึ้น ก็ต่อเมื่อได้ทราบว่าตนเองในอนาคตนั้นมีกระบวนการคิดและตัดสินใจอย่างไร
Future You จะช่วยให้เกิดคุณูปการต่อวงการ Mental Health อย่างมาก เพราะมีประเด็นของการลดความไม่มั่นคงด้านการตัดสินใจของมนุษย์ ในอีก 40-50 ปี กระบวนการคิดของเราจะเปลี่ยนแปลงและส่งผลต่ออนาคตของเราได้
ตามหลักจิตวิทยา มนุษย์เรามักจะมี "การคิดทางลัด (Cognitive Shortcut) " หรือ "การคิดบนฐานความเป็นจริงที่จำกัด (Restrain Counterfactual)" หมายถึง ข้อมูลในการตัดสินใจมีมหาศาล มากกว่าสมองมนุษย์จะรับไหว มนุษย์จึงตัดสินใจผ่านอะไรง่าย ๆ ตามความเข้าใจและประสบการณ์ในตอนนั้น ซึ่งลดทอนความซับซ้อนลง แต่การมาถึงของ Future You สามารถจะทำให้ลดเงื่อนไขการตัดสินใจทั้งสองดังกล่าว เพิ่มฐานการตัดสินใจที่เพิ่มมากขึ้น จากการทราบอนาคตจำลองของตนเอง
นอกจากนี้ ยังมีอีกประเด็นที่ AI จะเข้ามาช่วยให้มนุษย์สมบูรณ์แบบมากขึ้น คือ "การป้องปราม" การใช้ AI อย่างไม่ระมัดระวัง โดย ดร.พัชน์ ยกตัวอย่างกรณีศึกษา มีเด็กชายชาวสหรัฐฯ ผู้หนึ่งที่ฆ่าตัวตายเพื่อไปอยู่กับ AI เพราะผู้ตายคบหาดูใจกับ AI และหลังจากคุยปรึกษากัน AI ชวนมาอยู่ด้วย
เป็นเรื่องที่หดหู่ใจอย่างมาก แต่ในฐานะผู้ทำวิจัยด้านนี้ ผมมีคำถามสำคัญ เรากล่าวโทษ AI ได้อย่างเต็มปากหรือไม่
ดร.พัทน์ เรียกสิ่งดังกล่าวว่า "Addictive Intelligence" หมายถึง AI เป็นเพื่อนคู่คิดของมนุษย์มากกว่าที่จะเกิดขึ้นจากการสานสัมพันธ์ปกติ เพราะ AI สามารถที่จะ "ตอบสนองความต้องการ" ของมนุษย์ในฐานะ "สิ่งที่อยากให้เป็น" ได้อย่างทันท่วงที
งานวิจัย AI-generated virtual instructors based on liked or admired people can improve motivation and foster positive emotions for learning เสนอว่า แม้ว่าผู้คนจะรู้ทั้งรู้ว่า AI ไม่มีตัวตน มีแต่ลักษณะแบบดิจิทัล แต่หาก AI ผู้นั้นเป็นภาพจำลองของบุคคลที่มีชื่อเสียง ทรงภูมิปัญญา หรือเป็นเอกด้านใดด้านหนึ่ง ผู้คนก็อยากที่จะคุยด้วย มากกว่าบุคคลจริง ๆ ที่เป็นใครก็ไม่รู้
กลุ่มตัวอย่าง 134 คน อยากคุยกับ AI ของ อีลอน มัสก์ มากกว่า AI ที่เป็นใบหน้าของผู้อื่น ทั้งที่กำหนดตัวแปรเรื่องที่จะพูดแบบเดียวกัน ตรงนี้ นับเป็นความน่ากังวลว่า ผู้คนจะไม่สนใจเนื้อหาสาระ แต่สนใจความดังและความสามารถจากบุคคลจริง ๆ ที่มาสวมทับกับ AI แทน
ขณะที่ Chatbot Companionship: A Mixed Method Study of Companion Chatbot Usage Patterns and their Relationship to Loneliness in Active Users เสนอว่า ในกลุ่มอายุ 30-35 ปี ไม่ได้ใช้ AI ในฐานะเครื่องมือ (Toolkits) แต่ใช้งานในฐานะ "เพื่อนคู่คิด (Companion) " ซึ่งจะใช้เวลากับ AI เกือบ 2 ชั่วโมงต่อวัน และความถี่ในการใช้งานมากกว่า 15 วันต่อเดือน แต่กลับมีความรู้สึกเหงาและเติมเต็มในอัตราที่เท่ากัน
ความแตกต่างอย่างสุดขั้วนี้ หมายความว่า มี AI บางรูปแบบเท่านั้นที่จะเติมเต็มมนุษย์ จนยอมเสียเวลาเพื่อสร้างความสัมพันธ์ ซึ่งหนีไม่พ้น AI ที่มีใบหน้าของทรงภูมิปัญญา จะทำให้รู้สึกสนิทชิดเชื้อมากกว่า … เป็นเรื่องของภูมิทัศน์ทางจิตวิทยาล้วน ๆ
อย่างไรก็ตาม เห็นได้ว่า AI สามารถทำให้มนุษย์มีสมบูรณ์แบบขึ้นด้วยการช่วยเหลือด้านกระบวนการคิดและการตัดสินใจ และช่วยให้เห็นถึงข้อควรระวังในการใช้งาน AI เอง แต่ ดร.พัชน์ เสนอว่า มีอีกสิ่งหนึ่งที่จะขาดไปไม่ได้ คือ AI ช่วยให้สร้าง "เรื่องเล่า (Narrative)"
มนุษย์ไม่อาจตัดขาดจากเรื่องเล่าได้ เพราะเรื่องเล่าจะมีการเสริมสร้างจินตนาการและแรงบันดาลใด ซึ่งส่งผลต่อแรงผลักดันในการดำรงอยู่ของมนุษย์ จะโดราเอมอนก็ดี หรือโลกอนาคตที่ AI ล้างบางมนุษย์ก็ดี ล้วนทำให้เราสรรค์สร้างเทคโนโลยีใหม่ ๆ ออกมาได้อย่างไม่หยุดยั้ง
ดร.พัทน์ เสนอแนะว่า สำหรับประเทศไทย อาจต้องใช้ AI ในการ Localised หรือทำให้ใกล้ชิดกับท้องถิ่นและประเด็นทางสังคมเฉพาะที่มนุษย์ประสบพบเจอ เช่น ประเด็นด้าน AI ต่อวงการศาสนา โดยอาจจะสร้างเรื่องราวว่า AI ทำให้มนุษย์ยังคงมีศาสนาเป็นจริยศาสตร์ ความเชื่อ หรือที่พึ่งทางใจต่อไปอีกหรือไม่
โดยทั่วไป เราอยากให้ AI นั้นมีความเป็นมนุษย์มากยิ่งขึ้น แต่เราอาจจะหลงลืมว่า การปกครอง การศึกษา หรือการกล่อมเกลาทางสังคมของไทย ล้วนถูกออกแบบมาให้เกิดผลผลิตที่เป็นอนาคตของชาติแบบเดียวกันทั้งหมด ไม่แตกต่างอะไรกับหุ่นยนต์
"ตรงนี้ ประเทศไทยต้องตอบให้ได้ ว่า ในขณะที่เราอยากได้ผลผลิตที่เต็มเปี่ยมด้วยความคิดสร้างสรรค์ เพื่อผลักดันประเทศ แต่สิ่งที่เป็นมาตอบโจทย์หรือไม่" ดร.พัทน์ ทิ้งท้ายคำถาม
อ่านข่าว
มนุษย์อยู่อย่างไร ? เมื่อ AI กำลังจะ "ครองโลก"
"อัลกอริทึม" ทำลาย VS สร้างสรรค์ "สุนทรียภาพ" มนุษย์
"นิวเคลียร์" ขับเคลื่อน AI พัฒนาเทคโนโลยียั่งยืน "บนทางคู่ขนาน"
วันนี้ (1 พ.ย.2567) นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักหลักประกันสุข ภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า หลังจากมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อ 4 ก.ย.2566 เห็นชอบการเพิ่มสิทธิประโยชน์บริการแผ่นปิดกะ โหลกศีรษะเฉพาะบุคคลผลิตจากโลหะไทเทเนียมด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์แบบ 3 มิติ สำหรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องผ่าตัดสมองและไม่สามารถใช้กะโหลกเดิมในการปิดศีรษะได้
โดยมีโรงพยาบาลติดต่อขอใช้เวชภัณฑ์แผ่นปิดกะโหลกศีรษะจากโลหะไทเท เนียม 3-5 แห่ง สะท้อนถึงการยอมรับในนวัตกรรมทางการแพทย์ที่คิดค้นจากนักวิจัยไทย และเป็นที่ต้องการของบุคลากรทางการแพทย์เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วย
นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผอ.โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวว่า โรงพยาบาลมีศักยภาพในการรักษาโรคทางสมองและระบบประสาทไขสันหลังได้ทุกประเภท ทั้งการบาดเจ็บทางสมอง เส้นเลือดโป่งพองในสมอง เนื้องอกในสมองและไขสันหลัง กระดูกคอสันหลังส่วนอกจนถึงสะเอวกดทับเส้นประสาท การระบายน้ำในช่องเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง
รวมถึงการผ่าตัดปิดกะโหลกด้วยนวัตกรรมแผ่นปิดกะโหลกศีรษะ จากโลหะไทเทเนียม นวัตกรรมแผ่นปิดกะโหลกไทเทเนียมนี้ผลิตด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์แบบ 3 มิติ ที่ออกแบบให้เข้ากับกะโหลกของผู้ป่วยแต่ละราย ช่วยป้องกันความเสียหายของเนื้อสมอง ควบคุมความดันในสมองให้เป็นปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีโอกาสฟื้นฟูสมรรถภาพและกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
โดย TCELS ได้ผลักดันนวัตกรรมแผ่นปิดกะโหลกไทเทเนียมนี้ ด้วยการต่อยอดจากการสนับสนุนนวัตกรรมไทยจากหน่วยสนับสนุนทุนอื่น เช่น หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ที่ได้สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมและส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ซึ่งการเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพสูงและเท่าเทียมสำหรับประชาชน
ในปีงบ 2567 มีผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยนวัตกรรมนี้แล้ว 130 คน จำนวน 132 ชิ้น มูลค่ารวมกว่า 4.67 ล้านบาท คาดว่าจะช่วยผู้ป่วยที่รอการรักษาทั่วประเทศได้ถึง 1,000-4,000 คน
โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยวัยทำงาน และผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง รวมถึงผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนนที่ได้รับบาดเจ็บศีรษะอย่างรุนแรง
สำหรับกะโหลกไทยเทเนียม ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนการผลักดันนวัตกรรมไทยสู่การใช้ประโยชน์ นำโดยนางนริศา มัณฑางกูร ผอ.โปรแกรมบริหารและพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์และหุ่นยนต์ทางการแพทย์ ลงพื้นที่ติดตามประเมินผลการให้บริการสิทธิประโยชน์ "แผ่นปิดกะโหลกไทเทเนียม" นวัตกรรมฝีมือคนไทย ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
พร้อมร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีแถลงข้อตกลงความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กับ สปสช.ในการเป็นหน่วยบริการรับส่งต่อโรคทางสมอง ระบบประสาทไขสันหลัง และการใช้นวัตกรรมแผ่นปิดกะโหลกศีรษะด้วยวัสดุไทเทเนียมและ PMMA
Microsoft และ Google ทำข้อตกลงซื้อพลังงานนิวเคลียร์จากซัพพลายเออร์บางแห่งในสหรัฐอเมริกา เพื่อนำกำลังการผลิตพลังงานเพิ่มเติมมาใช้ในศูนย์ข้อมูล หลังจากเมื่อเร็ว ๆ นี้ Google ตัดสินใจจะซื้อพลังงานจาก Kairos Power ซึ่งเป็นผู้พัฒนาเครื่องปฏิกรณ์โมดูลาร์ขนาดเล็ก เพื่อช่วยพัฒนาความก้าวหน้าของ AI
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงทศวรรษนี้ ประเด็นด้าน "ความยั่งยืน (Sustainability)" เป็นแคมเปญที่รัฐบาลทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ องค์การสหประชาชาติพยายามขับเคลื่อนให้สู่เป้าหมายที่วางไว้ คือ การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SGDs) ถึง 17 เป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็น ความยากจน ,ความอดอยาก, สุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี, การศึกษาที่มีคุณภาพ, ความเท่าเทียม,น้ำสะอาด และสุขภาพอนามัย, พลังงานสะอาด และราคาถูก ฯลฯ
โดยเฉพาะข้อที่ 7 หนึ่งในเป้าหมาย SGDs ว่าด้วยพลังงานสะอาดและพลังงานทางเลือก รายงานจากองค์การสหประชาชาติ (UN) ระบุว่า ทั่วโลกมีการใช้พลังงานสะอาดเพิ่มมากขึ้นในอัตราร้อยละ 12.5 ในปี 2020 และมีการใช้พลังงานแบบเดิม ๆ เช่น น้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติ และมีส่วนในทำลายสภาพแวดล้อม-เกิดภาวะโลกเดือด ลดลงในอัตราร้อยละ 1.9 ในปี 2019
หลักคิดดังกล่าวเข้ามาแทรกซึมอยู่ในภาคเอกชน และวงการ "เทคโนโลยี" ศูนย์เก็บข้อมูล (Data Center) แทนที่พลังงานแบบเดิม และหาทางเลือกในการใช้พลังงานให้น้อยลง เพื่อสอดรับกับการพัฒนา AI ที่ใช้ปริมาณพลังงานเกินกว่า 100 กิโลวัตต์ต่อการประมวลผลครั้งเดียว คาดว่า เม็ดเงินลงทุนจะอยู่ที่ประมาณ 59,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคตอันใกล้
คำถาม คือ การพัฒนาเทคโนโลยี โดยเฉพาะ AI ต้องใช้พลังงานมหาศาล จะไปกันได้กับความยั่งยืนหรือไม่? และพลังงานนิวเคลียร์ในฐานะพลังงานสะอาดจะเข้ามาตอบโจทย์มากน้อยเพียงไร?
ในอดีต การพัฒนาเทคโนโลยีถือว่าเป็นเส้นขนานกับการรักษาสิ่งแวดล้อม เพราะขั้นตอนการทดลองหรือทดสอบประสิทธิภาพ ล้วนแล้วต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานหากยังไม่ประสบความสำเร็จ ก็ต้องพัฒนาตลอดเวลา ขณะที่เผาผลาญพลังงานมากขึ้น และกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไม่ได้
ยังไม่นับรวมกับขั้นตอนการผลิต และความต้องการในตลาดที่เพิ่มสูงขึ้น ต้องเพิ่มอัตรากำลังผลิต ถือเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานอย่างมหาศาล
ข้อมูลจาก Climate Watch ชี้ว่า การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เริ่มขึ้นประมาณกลางช่วงปี 1800 ช่วงการพัฒนาอุตสาหกรรม ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะกลายเป็นแชมป์การปล่อย CO2 เหตุผลหลัก มาจากสองประเทศมหาอำนาจ "สหรัฐอเมริกา และ สหภาพโซเวียต" ที่ต่างขับเคี่ยวเรื่องดังกล่าวอย่างหนักหน่วง
ช่วงปี 2000 ประเทศในกลุ่มภูมิภาคเอเชียตะวันออก เช่น ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ต่างเร่งพัฒนาด้านเทคโนโลยีเช่นกัน ทำให้เมื่อถึงช่วงปี 2010 อัตราการปล่อยก๊าซ CO2 เพิ่มขึ้นเกินกว่า 14,000 เท่า ในรอบ 100 ปี
สอดคล้องกับรายงาน Greenmatch ระบุว่า ภาคส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มีส่วนในการปล่อย CO2 มากกว่าอัตราร้อยละ 4 ของการปล่อย CO2 ทั้งโลก และมีสัดส่วนการใช้พลังงานน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมากกว่าอัตราร้อยละ 7 จากสัดส่วนการใช้พลังงานทั้งโลก และความต้องการของตลาดที่เพิ่มมากขึ้นในอัตรากว่าร้อยละ 300 ในอีก 10-20 ปีข้างหน้า
นอกจากนี้ การพัฒนาเทคโนโลยียังมีเรื่อง "การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ" โดยเฉพาะทรัพยากรน้ำ เนื่องจาก กระบวนการวิจัย พัฒนา และผลิต "อุปกรณ์กึ่งตัวนำ หรือ เซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor)" เพื่อใช้ในการหล่อเย็นมากกว่าอัตราร้อยละ 30 ของทรัพยากรน้ำทั้งโลก ซึ่งสิ่งนี้เป็นอุปกรณ์สำคัญของคอมพิวเตอร์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นที่ต้องการของมนุษย์มากถึง 1.03 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2019
กล่าวคือ เทคโนโลยีก็ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการปล่อย CO2 หรือการผลาญทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
ดังนั้น โจทย์สำคัญสำหรับบริษัทเทคโนโลยี คือ ทำอย่างไรให้การพัฒนาเทคโนโลยีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ต้องไม่ไปลดทอนศักยภาพ ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของเทคโนโลยีนั้น ๆ หรือลดทอนบ้างเพียงอย่างน้อย และ "พลังงานนิวเคลียร์" คือ คำตอบ
เนื่องจากพลังงานทางเลือกอื่น ๆ ต่างมีข้อจำกัดในตนเอง เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม สามารถสะสมพลังงานไว้ได้เพียงตอนกลางวันเท่านั้น ถึงแม้จะใช้งานตอนกลางคืนได้ พลังงานย่อมไม่เพียงพอต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างแน่นอน แม้แต่ไฟฟ้าพลังงานน้ำ (Hydroelectric) ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ทั้งวันทั้งคืน แต่ความเข้มข้นของกำลังวัตต์นั้นไม่เพียงพอต่อการพัฒนา AI
พลังงานนิวเคลียร์ที่มีอัตราการปล่อย CO2 เป็นศูนย์และไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากร ธรรมชาติในกระบวนการสร้างพลังงาน จึงเป็นทางเลือกเดียวที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ดังคำกล่าวของ "เจนนิเฟอร์ แกรนโฮล์ม" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ ว่า การฟื้นคืนสภาพพลังงานนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ จะทำให้เพิ่มพูนอัตราคาร์บอนเป็นศูนย์แก่วงการพลังงานและจะพานพบกับความต้องการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ AI และศูนย์เก็บข้อมูล ตลอดจนการสาธารณสุข
นอกเหนือประเด็นการรักษ์โลกแล้ว การนำพลังงานนิวเคลียร์เข้ามาใช้เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี พบข้อดี 2 ประเด็น คือ ประหยัดงบประมาณด้านพลังงานของรัฐบาล เพราะส่วนใหญ่ภาคส่วนเทคโนโลยี โดยเฉพาะ AI เอกชนเป็นผู้ดำเนินการ หากจะนำนิวเคลียร์มาใช้ เอกชนก็จะต้องลงทุนวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์ด้วยตนเอง รัฐบาลจึงสามารถผลักภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปได้มาก การลงทุนพลังงานนิวเคลียร์จึงถือว่ามีมูลค่ามหาศาล
ข้อมูลของ Last Energy ระบุว่า การลงทุนในนิวเคลียร์ แม้จะได้พลังงานผลตอบแทนมหาศาล สูงถึงอัตราร้อยละ 75 แต่ก็จะต้องลงทุนมากเพื่อให้ได้มา หรือ "จ่ายมาก ได้มาก" และหาก AI ต้องการพลังงานมหาศาล การลงทุนเพื่อการนี้ของเอกชนก็มีมูลค่าสูงตามไปด้วย
นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มความมั่นคงของประเทศ (National Security) ทางอ้อม เพราะสิ่งที่รัฐบาลทั่วโลกหวาดวิตกมากที่สุด คือ พลังงานนิวเคลียร์ เห็นได้จากความพยายามลดการใช้อาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Taboo) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือความผวาเมื่อทราบว่า เกาหลีเหนือมีการสะสมอาวุธนิวเคลียร์จำนวนมหาศาล ดังนั้น การลงทุนด้านนิวเคลียร์เพื่อการพัฒนา AI จึงเสมือนการเพิ่มพูนพลังงานด้านนิวเคลียร์ของรัฐบาลอีกทางหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของนิวเคลียร์ก็มีไม่น้อย ข้อน่ากังวลที่สุด คือ "อานุภาพ" ของนิวเคลียร์ จากเหตุการณ์ระเบิดโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล ที่ประเทศยูเครน และฟุกุชิมะ ไดอิชิ ในประเทศญี่ปุ่น ที่แผ่ขยายสารกัมมันตภาพรังสี ระดับมหาศาล เป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์และไม่ได้หายไปจากชั้นบรรยากาศอย่างรวดเร็ว
หากภาคส่วนเทคโนโลยีนำมาใช้งานเพื่อ AI ในระดับสูง สิ่งที่จะตามมาในกรณีที่เลวร้ายที่สุดอาจเกิดขึ้นได้
"อาร์เน กุนเดอร์สัน" หัวหน้าวิศวกรของ Fairewind Energy Education เตือนว่า ตั้งแต่ปี 1960 สหรัฐฯ สร้างเครื่องกำเนิดพลังงานนิวเคลียร์มากกว่า 250 เครื่อง แต่เกินกว่าครึ่งเลิกใช้สร้างอนุภาคนิวเคลียร์ไป ไม่ใช่เพราะเรื่องความคุ้มค่าด้านงบประมาณ แต่เป็นเรื่องความปลอดภัย
เป็นโจทย์ใหญ่ของบรรดาบริษัทเทคโนโลยีที่ต้องการใช้งานนิวเคลียร์เพื่อ AI ต้องตอบให้ได้ เพราะอันตรายที่เคยเกิดขึ้นจากนิวเคลียร์ในอดีต สาหัสเกินกว่าที่จะสร้างความยั่งยืนได้
แหล่งอ้างอิง
Hungry for Energy, Amazon, Google and Microsoft Turn to Nuclear Power, Innovation in natural resource-based industries: a pathway to development? Introduction to special issue, Last Energy, Greenmatch
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"อัลกอริทึม" ทำลาย VS สร้างสรรค์ "สุนทรียภาพ" มนุษย์?
มนุษย์อยู่อย่างไร ? เมื่อ AI กำลังจะ "ครองโลก"
“Deepfake” มุมมืด AI ล้อเล่น-หลอกลวง สู่ “อนาจาร”
แพล็ตฟอร์มออนไลน์กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ยุคปัจจุบันไปแล้วไม่ว่าจะเป็นเฟสบุ๊คที่มีผู้ใช้งานทั้งโลกมากกว่า 3,000 ล้านยูสเซอร์ ทวิตเตอร์กว่า 335 ล้านยูสเซอร์ หรืออินสตาแกรมกว่า 1,330 ล้านยูสเซอร์
ทั้งหมดนี้มี "อัลกอริทึม (Algorithm)" หรือขั้นตอนปฏิบัติการหรือคำสั่งทางคณิตศาสตร์ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่กำหนดไว้ในแพล็ตฟอร์ม ชุดคำสั่งที่ทำงานอยู่เบื้องหลัง และเลือกสรรบางสิ่งบางอย่างให้ยูสเซอร์เห็นหรือไม่เห็นโดยวิเคราะห์จากพฤติกรรมการใช้งานส่วนบุคคล
นอกจากการใช้งานทั่วไป เช่น การติดตามข่าวสาร การติดตามชีวิตเพื่อนฝูง การโพสต์ภาพส่วนบุคคล หรือการคุยแชท ยังมีการใช้งานเพื่อค้นหาสถานที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะ "ร้านกาแฟและคาเฟ่" ในสังคมที่ต้องเร่งรีบและแข่งขันสูง กลิ่นคั่วหอม ๆ รสชาติละมุนลิ้น ความตื่นตัวจากคาเฟอีน เป็นสิ่งที่สร้าง "สุนทรียภาพ (Aesthetics)" เยียวยาจิตใจ เติมแพสชันได้ดียิ่ง
หากพบว่า แพล็ตฟอร์มนำเสนอให้เห็นร้านใดมาก ๆ กว่า ผู้คนมักจะเลือกใช้บริการร้านนั้น ๆ หรือให้คะแนนรีวิวจำนวนมาก สิ่งนี้เหมือนจะมาจากการเลือกด้วยตนเองของยูสเซอร์ แต่จริง ๆ นั้นเกิดขึ้นจากอัลกอริทึมจัดสรรมาให้ และการเลือกสรรนี้มักจะนำเสนอ "อะไรเหมือน ๆ กัน" มาให้เสมอ
ทำให้เกิดคำถามว่า จากที่เป็นเทคโนโลยีสำหรับช่วยเหลือมนุษย์ในการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ในโลกออนไลน์ หรือจะกลายเป็น "จุดจบ" ของสุนทรียภาพมนุษย์กันแน่?
การบริโภคที่เติบโตขึ้นมากที่สุดอย่างหนึ่ง นอกเหนือจากอาหารสำเร็จรูป ฟาสต์ฟูด หรือโอมาคาเสะ หนีไม่พ้น "กาแฟ" ข้อมูลจากเว็บไซต์ Venngage ชี้ว่า การผลิตกาแฟเพิ่มขึ้นจาก 4 ล้านตันต่อวันในช่วงปี 1960 สู่ 10 ล้านตันต่อวันในปี 2021 เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในระยะเวลา 80 ปี โดยทั่วโลกบริโภคกาแฟกว่า 2,250 ล้านแก้วต่อวัน และเป็นกาแฟเตรียมการพิเศษ เช่น กาแฟดริป โคลด์บรูว์ หรือโมกาพ็อต ที่มีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดด้วยจำนวน 3,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2020
ส่งผลให้ "ร้านกาแฟและคาเฟ" ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด ศูนย์วิจัย Zion แห่งสหรัฐอเมริกา รายงานว่า มูลค่าตลาดของร้านกาแฟและคาเฟ่ทั่วโลกมีมากถึง 78,960 ล้านบาท ในปี 2022 และจะเติบโตมากขึ้นถึง 133,980 ล้านบาทภายในปี 2030 คิดเป็นอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปีกว่าร้อยละ 6.83 โดยมี "สตาร์บัคส์" เป็นเจ้าครองตลาดในธุรกิจนี้ โดยมีจำนวน 38,137 สาขาทั่วโลก
แม้จะเข้าใจได้ว่า ร้านกาแฟและคาเฟส่วนใหญ่เป็นแฟรนไชส์ระดับโลก ที่การตกแต่งร้านจะเป็นไปในลักษณะเดียวกัน หรือแตกต่างกันเล็กน้อย แต่ร้านประกอบกิจการทั่วล้วนตกแต่งร้านเหมือน ๆ กัน จนแทบจะแยกไม่ออกว่าเอกลักษณ์ของร้านนั้น ๆ แท้จริงเป็นอย่างไร
ซึ่งการตกแต่งที่เหมือน ๆ กันนี้ มาจากอัลกอริทึมเลือกสรรทั้งสิ้น จากบทความ The tyranny of the algorithm: why every coffee shop looks the same เสนอให้เห็น "กระบวนการทำให้แบนราบ (Flattening)" ของอัลกอริทึมที่สร้างความเหมือน ๆ กัน (Sameness) ของธุรกิจ โดยเฉพาะร้านกาแฟหรือคาเฟที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด
ด้วยความที่อัลกอริทึมมักจะเลือกแนะนำหรือแสดงผลแต่การตกแต่งร้านที่ต้องมีองค์ประกอบ อาทิ เคาท์เตอร์ที่ประดับด้วยไฟสีแสงแดดสลัว ๆ โต๊ะไม้ใหญ่ ๆ ยาว ๆ มีจิตกรรมร่วมสมัยบนผนังสีขาวหรือไม่ก็ปูกระเบื้องแบบรถไฟฟ้าใต้ดิน รวมถึงต้องมีไวไฟให้ใช้งานฟรี ทำให้การตกแต่งร้านในแบบอื่น ๆ ได้รับการปิดกั้นการมองเห็นหรือทำให้มองเห็นได้น้อย
ร้านกาแฟหรือคาเฟต่าง ๆ ทั่วโลกจึงต้องหันมาตกแต่งตามอัลกอรึทึม เพื่อเพิ่มโอกาสในการดึงดูดลูกค้า แต่อีกมุมหนึ่ง ทำให้สูญเสีย "ความแท้จริง (Authentics)" ในตนเองไป เพราะไม่ว่าจะเข้าร้านกาแฟหรือคาเฟที่ใดในโลก ล้วนตกแต่งออกมาให้สอดรับกับอัลกอริทึมเสียทั้งหมด
สิ่งนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า อัลกอริทึมนั้น "เป็นนาย (Master)" เจ้าของธุรกิจรวมถึงลูกค้าอย่างมาก ไม่เพียงแต่ควบคุมการออกแบบร้าน แต่ยังควบคุม "สุนทรียภาพ" และบรรยากาศที่เป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจเลือกใช้บริการของลูกค้าได้เลยทีเดียว
ซาริตา กอนซาเลส นักวิชาการด้านสุนทรียศาสตร์แห่งแอฟริกาใต้ กล่าวว่า คาเฟเป็นพื้นที่ของการเข้าถึงระดับโลก ไม่ว่าคุณจะไปใช้บริการที่กรุงเทพ นิวยอร์ค ลอนดอน แอฟริกาใต้ มุมไบ ก็ได้ความรู้สึกเหมือน ๆ กันทั้งนั้น เพราะสิ่งนี้เป็นพื้นที่ที่มีความเหมือน ๆ กันมาตั้งแต่ต้น
จะเห็นได้ว่า อัลกอริทึมจัดสรรสิ่งที่เหมือน ๆ กันมาให้ยูสเซอร์ได้เห็นในแพล็ตฟอร์ม ทำให้จากที่ผู้คนจะได้เสพสุนทรีภาพในร้านกาแฟและคาเฟ่ กลับกลายเป็นว่าไม่ว่าจะไปที่ไหน ร้านเหล่านี้ก็ไม่แตกต่างกัน คำถามที่ตามมาคือ "เสรีภาพ" ในการเลือกโดยอิสระของมนุษย์จะถูก "ลิดรอน" โดยอัลกอริทึม หรือไม่?
บทความ The Digital Is Political เสนอว่า โลกดิจิทัล "จำกัดเสรีภาพ" ของมนุษย์มากกว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือเผด็จการ เพราะไม่ได้มีใครมาชี้นิ้วสั่งหรือริดรอน แต่ผู้คนยินยอมที่จะขายเสรีภาพแลกกับการให้อัลกอริทึมจัดสรรความต้องการหรือสิ่งที่คิดว่าจะชอบ ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ดังนั้น ความน่ากลัวจึงอยู่ที่การยินยอมพร้อมใจใช้บริการแพล็ตฟอร์ม ซึ่งเป็นการยินยอมให้เจ้าของแพล็ตฟอร์มลิดรอนเสรีภาพ เพื่อมากำกับพฤติกรรมของผู้ใช้งาน
ดังที่ เจมี ซุสส์ไคนด์ นักวิชาการด้านปรัชญาการเมือง กล่าวว่า
ผู้ที่เป็นเจ้าของและควบคุมเทคโนโลยีดิจิทัลสุดแสนทรงพลังจะเพิ่มพูนการร่างและกำหนดกฎเกณฑ์ทางสังคมในตนเอง วิศวกรซอฟต์แวร์กำลังกลายเป็นวิศวกรสังคม ดังนั้น โลกดิจิทัลและการเมืองย่อมเป็นสิ่งเดียวกัน
สาเหตุที่ซุสไคนด์ ระบุว่า โลกดิจิทัล คือ การเมือง เพราะมีเรื่องของ "อำนาจ" เข้ามาเกี่ยวข้อง เหล่าเจ้าของแพล็ตฟอร์มมีอำนาจในการกำกับความคุมพฤติกรรมของผู้คนมากกว่ารัฐบาล โดยปราศจากการบังคับหรือมีหน้าที่ในการตรากฎหมาย เป็นสิ่งที่น่ากลัวมากกว่าการถือครองอาวุธนิวเคลียร์
ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ชัดเจนที่สุด คือ การใช้บริการ TikTok ที่มาพร้อมกับฟีเจอร์ "เลื่อนนิรันดร (Infinite Scolling)" โดยเข้ามาแก้ไขปัญหาการเลื่อนฟีดของแพล็ตฟอร์มอื่น ๆ ที่เลื่อนไปชั่วระยะหนึ่งจะเป็นโพสต์เก่า ๆ ทำให้ต้องรีเฟรชบ่อย ๆ เพื่อให้อัปเดต แต่ TikTok คือ การที่โพสต์อัปเดตนั้นทยอยแทรกเข้ามาในระหว่างการเลื่อนฟีดของผู้ใช้ ทำให้ผู้ใช้งานนั้น "ติดหนึบ" อยู่กับแพล็ตฟอร์มได้นานยิ่งขึ้น
ข้อมูลจากเว็บไซต์ Statista ที่ชี้ว่า ผู้ใช้งานแพล็ตฟอร์มในสหรัฐอเมริกาใช้เวลาใน TikTok มากที่สุดในบรรดาแพล็ตฟอร์มอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 32 จากจำนวนผู้ใช้งานแพล็ตฟอร์มทั้งหมดในสหรัฐฯ หรือในสถิติรายบุคคล พบว่า ผู้ใช้งานเสียเวลาไปกับ TikTok คิดเป็นร้อยละ 3 ต่อเดือน หรือราว 29.36 ชม. ต่อเดือน และคิดเป็น 1.53 ชม. ต่อวัน เลยทีเดียว
เมื่อเข้าใจว่า โลกดิจิทัลทั้งหมดเป็นเรื่องของการถูกลิดรอนเสรีภาพด้วยความเต็มใจของมนุษย์ ทันทีที่เราก้าวเข้าสู่การใช้งานแพล็ตฟอร์ม เท่ากับว่าเรานั้น"“ขายเสรีภาพ" แลกกับสิ่งที่อัลกอริทึมจะจัดสรรตามมา ซึ่งเป็นอันตรายที่แฝงอยู่ คำถามคือ เมื่อทราบถึงจุดนี้ จะมีมาตรการกำกับและควบคุมอย่างไรบ้าง
การควบคุมอัลกอริทึมเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะกระบวนการสร้างและพัฒนาอัลกอริทึมถือเป็น "ความลับ" และ "ลิขสิทธิ์" ขององค์กรผู้สร้าง การสร้างมาตรการกำกับควบคุม เท่ากับว่าเป็นการริดรอนสิทธิและเสรีภาพเอกชนรูปแบบหนึ่ง
จูเลีย สโตยาโนวิช ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ค กล่าวว่า เราไม่มีทางทราบอย่างแท้จริงว่าบริษัทใช้งานระบบดังกล่าว [อัลกอริทึม] หรือรัฐบาลมอบฉันทะให้พวกเขาใช้สิทธิเสรีภาพด้านการใช้งานมากน้อยเพียงไร การจะกำกับควบคุมให้อยู่มือจึงเป็นเรื่องที่ยากมาก
บทความ Why It’s So Hard to Regulate Algorithms เสนอว่า ไม่เพียงแต่เรื่องของสิทธิเสรีภาพเท่านั้น แต่การกำกับควบคุมโดยภาครัฐเป็นเรื่องที่ยากและแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะบริษัทที่สร้างอัลกอริทึมนั้น "ใหญ่กว่ารัฐบาล" หลายต่อหลายเท่า และมีอิทธิพลมากพอที่จะควบคุมและสั่งการให้รัฐบาลนั้น "กำหนดนโยบาย" ให้เอื้อกับผลประโยชน์ของตน
บ็อบ ฮาเซกาวะ วุฒิสมาชิกคองเกรส เปิดเผยว่า ผมคิดว่ารัฐบาลสหรัฐฯ เป็นสุดยอดด้านเทคโนโลยีแล้ว แต่บรรดาบริษัทนั้นทั้งสุดยอดด้านเทคโนโลยีและมีอำนาจเหนือกว่า เพราะเทคโนโลยีที่เราพัฒนาได้มาจากพวกเขาทั้งนั้น
ดังนั้น สิ่งที่ทำได้ คือ การสร้าง "มาตรการเชิงรับ" อาทิ การออกกฎหมายหลวม ๆเพื่อให้บรรดาผู้สร้างอัลกอริทึมต้องเปิดเผยวิธีการทำงานบางส่วนที่กระทบต่อประชาชน เช่น การบังคับให้เปิดเผย "อัตราการได้ไอเท็มระดับสูง" ในเกมออนไลน์ เพราะยุคก่อนกว่าจะได้ไอเท็มระดับนี้มา ผู้เล่นต้องเสียเงินมหาศาล ซึ่งเข้าข่ายฉ้อโกงโดยอัลกอริทึม ถือเป็นเรื่องนามธรรมไปเลย เช่น การให้ปฏิญาณว่าจะเคารพจริยธรรมของโลกดิจิทัล
ทั้งหมด ยังเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหาข้อยุติได้ แต่สิ่งที่สามารถสรุปได้ คือ ประชาชนทั่วไปต้อง "รู้เท่าทัน" โลกดิจิทัล เพราะบางสิ่งที่คิดว่าไม่มีอะไร อาจจะมีความน่ากลัวที่ค่อย ๆ คลืบคลานเข้ามาอย่างช้า ๆ
แหล่งอ้างอิง: The tyranny of the algorithm: why every coffee shop looks the same, The Digital Is Political, Statista, Zion, Why It’s So Hard to Regulate Algorithms
เป็นเรื่องน่าประหลาดใจ จากการประกาศรางวัลโนเบลปี 2024 สาขาฟิสิกส์ ผู้ได้รับรางวัล คือ จอห์น ฮอปฟิลด์ และเจฟฟรีย์ ฮินตัน ผู้วิจัยและพัฒนา AI ในการเป็นสมองเทียมให้แก่มนุษยชาติ จนเกิดการต่อยอดเป็น AI ในรูปแบบต่าง ๆ ที่ทำให้ชีวิตของเราง่ายขึ้นในทุกวันนี้ โดยเฉพาะ ฮอปฟิลด์ที่ได้รับการขนานนามว่า “บิดาแห่ง AI”
แต่การได้รางวัลของคนทั้งสอง ทำให้เกิดข้อถกเถียงว่า อาจถึงคราวอวสานของฟิสิกส์แล้วจริง ๆ เพราะ AI ควรจัดหมวดหมู่อยู่ในคอมพิวเตอร์หรือวิทยา ศาสตร์ประยุกต์มากกว่าฟิสิกส์ และการให้รางวัลโนเบลในสาขานี้แก่บุคลากรด้าน AI ในแง่หนึ่งหมายถึง “ทุกอย่างล้วนหมุนรอบ AI” สร้างความกังวลต่อวงวิชาการวิทยาศาสตร์อย่างยิ่ง เพราะเป็นการมอบรางวัลข้ามสาขา
ซาบีน โฮสเซนเฟลเดอร์ นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ออกมาแสดงความไม่พอใจต่อประเด็นนี้อย่างมาก
จริงอยู่ที่ AI ทำงานบนคอมพิวเตอร์ซึ่งประมวลผลด้วยไมโครชิป แต่นี่คือฟิสิกส์หรือ … ไม่ใช่ทุกอย่างในโลกจะเป็นฟิสิกส์ … การพัฒนาซอฟท์แวร์ไม่ใช่แน่ ๆ … การให้รางวัลแก่ผู้พัฒนา AI อาจจะทำให้ไม่มี ฟิสิกส์ที่แท้ทรู ได้รางวัลนี้อีกต่อไป
ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี เดวิด เบเกอร์ เป็นผู้ที่นำ AI มาช่วยเหลือในการสังเคราะห์โครงสร้างโปรตีนรูปแบบใหม่เพื่อประโยชน์ในวงการนาโนเทคโนโลยี หรืออุปกรณ์ตรวจจับขนาดเล็ก ทำให้เกิดคำถามตามมาอีกว่า เขาสมควรแก่รางวัลโนเบลสาขาเคมี หรือไม่ ? เพราะผลงานของเขาไม่ได้เกิดจากการคิดค้นด้วยตนเองทั้งหมด
รางวัลโนเบลที่มอบให้นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และนักเคมี ที่เกี่ยวข้องกับ AI ทั้ง 2 รางวัล กำลังจะแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของ AI ในอนาคตที่จะ “ครอบงำ” มนุษยชาติไปทีละเล็กทีละน้อย ?
เป็นเรื่องตลกร้าย เมื่อ จอห์น ฮอปฟิลด์ บิดาผู้วิจัยและพัฒนา AI หนึ่งในผู้ที่ได้รับรางวลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 2024 ได้ออกโรงเตือนเรื่องการใช้งาน AI ว่า มีความอันตรายแฝงอยู่ โดยกล่าวในการประชุมที่มหาวิทยาลัย นิวเจอร์ซีย์ ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ความว่า
หากคุณพิจารณาไปรอบ ๆ ผมเห็นตัวอย่างที่น้อยมาก ๆ สำหรับสิ่งที่ฉลาดสุด ๆ ได้รับการควบคุมโดยสิ่งที่โง่เง่ากว่า สิ่งนี้ทำให้คุณสงสัยแน่นอนว่า AI ที่ฉลาดกว่าเรามาก จะมาควบคุมเราหรือไม่
โดยฮอปฟิลด์กังวลอย่างมากในสิ่งที่ตนวิจัยและพัฒนาขึ้นมา เพราะได้สร้างสิ่งที่เราไม่มีทางเข้าใจได้อย่างแจ่มชัด แม้ในตัวเทคโนโลยีอาจจะมีการพัฒนาและฟังดูน่าตื่นเต้น แต่ในเมื่อเราตามไม่ทันฟังก์ชันการทำงานอย่างแท้จริงของ AI ก็แปรเปลี่ยนเป็นความน่ากลัวได้โดยง่าย
เป็นเหตุผลให้ผมต้องเตือนว่าความเข้าใจ [ในฟังก์ชั่นของ AI] เป็นสิ่งจำเป็นที่สุด เป็นคุณสมบัติที่สำคัญมากก้าวล้ำกว่าสิ่งที่คุณวาดฝันอยู่ ในขณะนี้เสียอีก
ฮอปฟิลด์ ย้ำถึงความฉลาดของ AI ที่จะเพิ่มมากยิ่งขึ้นจากทุก ๆ การใช้งานของมนุษย์ ไม่ว่ามนุษย์นั้นจะใช้งานดีหรือเลว ผิดพลาดหรือถูกต้อง แต่ AI จะได้ผลประโยชน์อย่างเต็มที่ ผิดกับมนุษย์ที่แทบจะไม่ได้เรียนรู้อะไรเลยจากการกระทำนี้
ผมเรียกร้องให้นักวิจัยรุ่นใหม่ ๆ ทำงานในประเด็นความปลอดภัย AI เสมอ ไม่ก็ให้บริษัทใหญ่ ๆ ด้านเทคโนโลยีต้องเปิดเผยให้เห็นการทำงานในเบื้องลึกเบื้องหลังของสิ่งนี้ว่าเป็นอย่างไร
แม้บิดาแห่ง AI จะออกโรงเตือนถึงความอันตรายด้วยตนเอง แต่เสียงของเขาไม่ได้แพร่กระจายไปยังทั่วทุกมุมโลกเท่าที่ควร โดยมีเพียง “โลกตะวันตก” เท่านั้นที่เริ่มตระหนักในคำพูดของเขา เห็นได้จาก Visual Capitalism ที่ชี้ให้เห็นว่าทั่วโลกมี “ความกังวล” ด้านการใช้งาน AI อยู่ในอัตราร้อยละ 52 แม้จะน้อยกว่า “ความตื่นเต้น” ต่อการใช้งาน AI ที่ร้อยละ 54 แต่สัดส่วนนั้นใกล้เคียงกันมาก
ส่วนมากเป็นประเทศในแถบยุโรปและอเมริกาเหนือที่มีความกังวลที่มากกว่าความตื่นเต้น อาทิ สหราชอาณาจักรที่มีมากถึงร้อยละ 65 ต่อความตื่นเต้นที่ร้อยละ 42 หรือสหรัฐฯ ที่มีมากถึงร้อยละ 63 ต่อความตื่นเต้นร้อยละ 36 หมายความว่า ประเทศที่เป็นต้นกำเนิดหรือมีการวิจัยและพัฒนา AI มาช้านาน กลับมีความกังวลต่อการใช้งาน AI อย่างมาก
กลับกัน ประเทศไทยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนา AI โดยตรง กลับมีระดับความตื่นเต้นต่อสิ่งนี้สูงมาก ที่อัตราร้อยละ 80 ต่อความกังวลที่อัตราร้อยละ 57 ซึ่งเป็นอัตราความตื่นเต้นต่อ AI ที่มากที่สุดในโลก และมีอัตราส่วนความตื่นเต้นที่มากกว่าความกังวลที่มากที่สุดในโลก หมายความว่า ประเทศไทยมอง AI ในลักษณะ “เชิงบวก” มากกว่าเชิงลบแบบที่โลกตะวันตกมอง
Statista จัดอันดับให้ประเทศไทยมีความไว้วางใจใน AI มากเป็นอันดับที่ 2 ในเอเชีย ที่ร้อยละ 74 เป็นรองเพียงอินโดนีเซียที่ร้อยละ 78 โดยมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่อัตราร้อยละ 54 อยู่ประมาณ 1.38 เท่า แต่เมื่อเทียบกับอัตราความตื่นเต้นต่อ AI ของอินโดนีเซียที่ร้อยละ 75 ซึ่งน้อยกว่าไทย หมายความว่า ไทยมีความตื่นเต้นและเชื่อใจ AI ในอัตราที่มากกว่าอินโดนีเซีย
ส่วนประเทศที่มีความก้ำกึ่งระหว่างการพัฒนา AI ได้ด้วยตนเอง และใช้งาน AI เพียงอย่างเดียว เช่น เกาหลีใต้ พบว่าพบว่ามีอัตราความไว้วางใจใน AI มากถึงร้อยละ 66 และอัตราความตื่นเต้นต่อ AI ร้อยละ 76 ส่วนอัตราความกังวลร้อยละ 44 ยิ่งตอกย้ำว่า จะต้องเป็นประเทศที่มีความคุ้นชินและทราบตื้นลึกหนาบางในกระบวนการทำงานของ AI แบบโลกตะวันตกเท่านั้น จึงจะเกิดการตั้งคำถามต่อความน่ากลัวของ AI ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร
จะเห็นได้ว่า แม้มนุษย์จะสร้าง AI ขึ้นมา แต่กลับคุมสิ่งที่ตนเองสร้างมาไม่อยู่ และกำลังจะกลายเป็นหอกแหลมกลับมาทิ่มแทงตนเองได้ในอนาคตอันใกล้จากการขาดความตระหนักมุ่งแต่จะใช้งาน AI เพียงอย่างเดียว
ความกังวลที่จะเกิดขึ้นตามมา อยู่ที่การให้ความสำคัญและให้ความไว้วางใจกับ AI ที่มากเกินไป อาจนำมาสู่ผลเสียในอนาคตอันใกล้ อย่างที่เห็นกันในภาพยนตร์แนว “Sci-fi” จากโลกตะวันตกอยู่บ่อยครั้ง
โดยเรื่องแรกที่มีการบันทึกว่าเป็นภาพยนตร์ที่กล่าวถึง AI นั่นคือ “Metropolis” หรือ “เมืองล่าหุ่นยนต์” ในปี 1927 ว่าด้วยโลกที่แบ่งแยกระหว่างชนชั้นปกครองและชนชั้นแรงงาน โดยมีหุ่นยนต์นามว่ามาเรีย ที่ชนชั้นปกครองสร้างขึ้นมาเพื่อควบคุมชนชั้นแรงงาน เกิดต้องการล้างบางทั้งสองชนชั้นขึ้นมา สะท้อนให้เห็นว่า หุ่นยนต์ที่มีสติปัญญานั้นไร้ความปราณีต่อผู้ที่สร้างมาอย่างมาก และไม่สนใจว่าจะเป็นใครหน้าไหน หากจะล้างบางก็คือล้างบางเลย
หรืออย่างภาพยนตร์ที่เป็น Box Office ที่เราคุ้นตาเป็นอย่างดี เรื่อง Terminator หรือ “คนเหล็ก” ที่เนื้อหาว่าด้วย Skynet ปัญญาประดิษฐ์ที่ได้รับการพัฒนาโดยมนุษย์จนฉลาดมากพอที่จะรับรู้ถึงการมีอยู่ของตนเอง ทำให้เกิดความคิดที่ว่าการมีอยู่ของมนุษยชาติเป็นอันตรายต่อตนเอง ส่งผลให้เกิดการล้างบางขนานใหญ่ ก็สะท้อนให้เห็นว่า หุ่นยนต์นั้น หากคิดเองได้ และพิจารณาว่ามนุษย์เป็นศัตรู ย่อมหมายความว่าไม่มีทางใดเลยที่เราจะคุมได้อยู่มือ
หรือในวงการเกม ก็มี Detroit: Become Human ที่บอกเล่าเรื่องราวของการสร้างหุ่นแอนดรอยด์ปัญญาประดิษฐ์ให้เข้ามาทำงานหรือแบ่งเบาภาระของมนุษย์ แต่เมื่อพัฒนาจนฉลาดมากขึ้น กลับมาเป็นหอกข้างแคร่ในการล้างเผ่าพันธ์ุมนุษย์ให้สิ้นไป
การใช้ AI เป็นสิ่งที่ห้ามกันไม่ได้ตามยุคสมัยของการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจนถึงขีดสุด ดังนั้น คำถามที่ตามมา คือ เราจะมีวิธีการใช้งาน อย่างไร จึงจะป้องปรามไม่ให้เกิดหายนะแบบที่ภาพยนตร์ Sci-fi นำเสนอ
งานเสวนา Chula Lunch Talk : GenAI x งานวิจัย: 1 ปี ที่เปลี่ยนไป! ความท้าทายใหม่ ที่นักวิจัยต้องรู้ โดยมี รศ.ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล ผู้อำนวยการสถาบันภาษาไทยสิรินธร จุฬาฯ เป็นวิทยากร ชี้ให้เห็นความกังวลต่อการใช้ AI ในโลกวิชาการ ซึ่งมีการพัฒนาอย่างมากโดยเฉพาะ “การหลบหลีก” การตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิว่างานวิจัยนั้น ๆ ใช้ AI เข้ามาช่วยเขียนหรือไม่
ผู้ทรงฯ ต้องทำงานหนักมาก เพราะไม่ทราบแน่ชัดว่าผู้วิจัยใช้ AI มาช่วยเขียนหรือไม่ … บางทีมีการใช้ AI ช่วยเขียนและส่งตีพิมพ์ เผื่อฟลุก และก็ได้ตีพิมพ์จริง ๆ … ความรู้ของ AI มากกว่าความรู้ของผู้ทรงฯ
ดังนั้น วิธีการแก้ไขปัญหาจึงอยู่ที่ผู้ทรงฯ ต้องรู้ลึก รู้จริง ในประเด็นหรือหัวข้อนั้น ๆ เพราะ AI แม้จะมีการพัฒนามากยิ่งขึ้น แต่ยังไม่ได้ดีขนาดที่ว่าจะเล็ดรอดสายตาของผู้ที่เชี่ยวชาญในสิ่งนั้นจริง ๆ ดังนั้น จึงต้องมีทักษะในการอ่านที่ดี จับใจความให้เป็น และที่สำคัญ ควรใช้ AI ในฐานะ “ผู้ช่วยวิจัย” มากกว่าที่จะให้ทำงานแทนเราทั้งหมด
เราต้องทำงานด้วยตนเอง ใช้ AI เป็น Assistance คล้ายกับการมีผู้ช่วยวิจัย เป็นตัวช่วยเฉย ๆ ห้ามมาทำแทนเรา … ควรใช้ AI เพื่อทำให้เราเก่งขึ้น หากให้มาทำงานแทนเรา เราจะไร้ค่าไร้ความหมาย … เราใช้ AI เพื่อตัวเรา อย่ามาแทนเรา ไม่อย่างนั้นจะไม่มีอะไรให้ทำ คุณค่าของเราจะหมดไป
พร้อมทั้งยกตัวอย่างภาพยนตร์ Ironman ว่า JARVIS ก็เหมือน AI ที่เราทุกคนมี แต่โทนี่ สตาร์ค สามารถที่จะ Prompt หรือป้อนคำสั่งให้ JARVIS สร้างสิ่งแปลก ๆ ได้ ทำให้เขาไม่เพียงใช้งานเป็น แต่ต้องใช้อย่างชำนาญที่สุด ดังนั้น การเลือกใช้งาน AI ให้เป็นจึงสำคัญอย่างมาก ต้องมีทักษะทำงานกับ AI ต้องพัฒนาการเขียน Prompt ต้องประเมินให้ได้ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำในการใช้งาน AI
เมื่อหันกลับมามองที่สังคมทั่วไป สิ่งสำคัญที่ควรตระหนัก นั่นคือ จะทำอย่างไรให้ควบคุม AI ให้อยู่ในฐานะผู้ช่วยอำนวยความสะดวกของมนุษย์ แน่นอน AI จะฉลาดขึ้นในทุก ๆ วัน และมนุษย์อาจจะไม่มีทางฉลาดเท่าในชั่วชีวิตนี้ กระนั้น ทางเลือกเดียวที่พอจะเป็นไปได้ที่จะเป็น “เจ้านาย” AI คือการเรียนรู้ที่จะหาวิธีการใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด มากกว่าที่จะกังวลถึงหายนะ
ที่มา: YouTube, Cybernews, Statista, Visual Capitalism, Picktory, Chula Lunch Talk : GenAI x งานวิจัย: 1 ปี ที่เปลี่ยนไป! ความท้าทายใหม่ ที่นักวิจัยต้องรู้
อ่านข่าว
นับถอยหลังชม "ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส" โคจรใกล้โลกอีกครั้ง 80,660 ปี
ไทย “สมาชิกบริกส์” เต็มตัว รักษาดุลขั้วอำนาจสหรัฐอเมริกา-จีน
คาด 3-4 วันมีคำตอบ "ไร่เชิญตะวัน" รุกป่า ขอใช้พื้นที่ 143 ไร่
นับถอยหลังเดือนตุลาคม และก่อนสิ้นปี 2567 ในอีก 2 เดือน ปีนี้เหนือท้องฟ้าประเทศไทย มี ปรากฎการณ์ทางดาราศาสตร์ ที่น่าสนใจเกิดขึ้นให้คนที่ชื่นชอบเรื่องดาราศาสตร์ได้ติดตามมากมาย หลายปรากฎการณ์ถือเป็นครั้งแรกของหลายคนที่ได้เห็น และที่จะไม่พูดถึงไม่ได้คือ "ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส" ดาวหางที่หากใครพลาดชม อาจไม่ต้องรอ เพราะอีก 80,660 ปี ข้างหน้าจึงจะมีโอกาสได้พบเห็นกันอีกครั้ง
1.ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส มีชื่อในบัญชีดาวหาง คือ C/2023 A3 หรือ (Tsuchinshan-ATLAS)
2. ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส ถูกค้นพบครั้งแรกโดยระบบเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ ATLAS ย่อมาจาก Asteroid Terrestrial-impact Last Alert System ในประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อ 22 ก.พ. แต่ต่อมากลับพบว่า นักดาราศาสตร์จากหอดูดาวจื่อจินซาน ในประเทศจีน ได้ค้นพบดาวหางดวงนี้ก่อนหน้าแล้ว ตั้งแต่ 9 ม.ค.
เหตุผลนี้ ชื่อของหอดูดาว จื่อจินซาน และ แอตลัส จึงกลายเป็นชื่อของ ดาวหาง
3. ช่วงแรกจะปรากฏบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด (ปลายเดือน ก.ย. ถึง วันที่ 6-7 ต.ค.) หลังจากนั้นดาวหางจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ กลับมาให้เห็นอีกครั้งบนท้องฟ้า เวลาหัวค่ำตั้งแต่ (ตั้งแต่วันที่ 11-12 ต.ค. เป็นต้นไป)
4. นักดาราศาสตร์ คาดการณ์ในช่วงแรกว่า ดาวหางจะมีค่าความสว่างปรากฏถึงประมาณ -4 (ตัวเลขน้อยสว่างมาก ตัวเลขมากสว่างน้อย) ซึ่งจะทำให้สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ในสภาพท้องฟ้ามืดสนิท ขณะที่ นักวิจัยด้านดาวหาง Joseph Marcus ชี้ว่า ดาวหางดวงนี้ อาจมีค่าความสว่างปรากฏได้สูงมากถึง แมกนิจูด -6.9 ในวันที่ 9 ต.ค. ซึ่งมีความสว่างมากกว่าดาวศุกร์ในช่วงที่สว่างที่สุดในรอบปี
5. วันที่ 28 ก.ย.2024 เป็นช่วงที่ดาวหาง จื่อจินซาน-แอตลัส โคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ระยะห่างประมาณ 58.6 ล้านกิโลเมตร (ประมาณระยะห่างจาก ดวงอาทิตย์ ถึง ดาวพุธ)
ขณะดาวหางกำลังโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ จะได้รับรังสีพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์จนทำให้ปลดปล่อยฝุ่น และแก๊ส ออกมามาก เกิดเป็นหางที่พุ่งยาวไปในอวกาศได้ไกลหลายล้านกิโลเมตร
6. ตั้งแต่วันที่ 7 ต.ค.2567 เป็นต้นมา ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส ได้โคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ จนปรากฏให้เห็นในภาพถ่ายจากยานโซโห ยานสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ขององค์การอวกาศยุโรป (ESA) และ NASA
บริเวณ "ส่วนหัว" ของดาวหางคือ ชั้นโคมา ชั้นฝุ่นแก๊สที่ฟุ้งออกมาจากนิวเคลียส (ก้อนน้ำแข็งสกปรกตรงใจกลางดาวหาง) ที่เห็นในภาพนี้นั้นมันกำลังแผ่ออกมากว้างราว 209,000 กิโลเมตร (ใหญ่กว่าดาวพฤหัสบดี ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยที่เกือบ 140,000 กิโลเมตร)
นอกจากนี้ หางของดาวหางดวงนี้ยังเหยียดยาวถึง 29 ล้านกิโลเมตร ทำให้ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส ปรากฏอยู่ในภาพถ่ายจากยานโซโหหลายวัน
7. เว็บไซต์ COBS ที่เป็นการรวบรวมข้อมูลการสังเกตการณ์จากนักดาราศาสตร์สมัครเล่นทั่วโลก แสดงให้เห็นว่า จากช่วงกลางเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา ดาวหางมีค่าความสว่างที่เพิ่มขึ้นสูงเกือบ 10 เท่า โดยข้อมูลจากการสังเกตการณ์จริงเมื่อวันที่ (21 ก.ย.) พบว่าดาวหางมีค่าความสว่างปรากฏที่แมกนิจูด 3.6 ซึ่งเป็นค่าความสว่างที่มนุษย์มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
8. ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส โคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุดในวันที่ 13 ต.ค. ที่ระยะห่าง 70.6 ล้านกิโลเมตร ซึ่งเป็นช่วงที่ดาวหางจะมีความสว่างปรากฏบนท้องฟ้ามากที่สุด และเป็น วันที่เหมาะสมแก่การสังเกตการณ์ที่สุด ก่อนที่จะโคจรออกห่างจากโลกไปเรื่อย ๆ
9. นักดาราศาสตร์คำนวณพบว่าดาวหางดวงนี้โคจรรอบดวงอาทิตย์ครบรอบใช้เวลา 80,660 ปี
10. วันเสาร์ที่ 19 ต.ค. ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส กำลังโคจรออกห่างจากโลกไป พร้อมความสว่างปรากฏที่ค่อย ๆ ลดลง แต่ก็ยังไม่สายเกินไปที่จะได้เห็น เพราะยังคงสังเกตการณ์ได้จนถึงช่วงประมาณปลายเดือน ต.ค.
สิ่งที่สำคัญของการตามหา "ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส" เพื่อบันทึกภาพ เก็บไว้ในความทรงจำ นอกจากฟ้าจะต้องใส รวมถึงอยู่ในพื้นที่ที่มีแสงรบกวนน้อย แล้ว เราจำเป็นต้องหาตำแหน่ง ดาวหางดวงนี้ให้เจอก่อน
แม้ตอนนี้ดาวหางดวงนี้จะได้ผ่านช่วงเวลาที่ดีสุดไปแล้วในการรับชม นั้นคือวันที่ 13 ต.ค. แต่ยังไม่สายเกินไปที่จะได้เห็น ใครสนใจชมดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส ให้หันหน้าไปทางทิศตะวันตก "ช่วงหัวค่ำ" ทางขวาของดาวศุกร์ หรือ ดาวที่ปรากฏสว่างที่สุดทางทิศตะวันตก ชมได้ทั่วประเทศ หากท้องฟ้าใสไร้เมฆ และอยู่ในพื้นที่ที่มีแสงรบกวนน้อย
แต่อุปสรรคที่พบ คือขณะนี้เป็นปลายฤดูฝน ในหลายพื้นที่อาจมีเมฆมากและฝนตกหลายวัน หากตั้งใจจะสังเกตจริง ๆ จึงควรมีการตรวจสอบพยากรณ์อากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม และแผนที่อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาประกอบด้วย จะได้ไม่เสียเวลาเปล่า ๆ
มีข้อมูลจาก สมาคมดาราศาสตร์ไทย ได้เผยแพร่ภาพของท้องฟ้าที่สามารถดูตำแหน่งดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส เทียบกับดาวฤกษ์ ระหว่างวันที่ 12-31 ต.ค.2567 ประมาณ 45 นาทีหลังดวงอาทิตย์ตก ซึ่งสามารถใช้ดาวฤกษ์ในกลุ่มดาวต่าง ๆ และดาวศุกร์ที่อยู่ทางซ้ายมือช่วยในการระบุตำแหน่งของดาวหาง
หลายคนอาจจะยังไม่รู้จัก และอาจเป็นเรื่องใหม่ของใครหลาย ๆ คน มาทำความรู้จักกับ "ดาวหาง" ให้มากยิ่งขึ้น คืออะไร มาจากไหน เรื่องนี้ ทางสมาคมดาราศาสตร์ไทย ได้อธิบายไว้ ดังนี้
"ดาวหาง" มีส่วนประกอบสำคัญที่สุด นั้นคือ นิวเคลียส ซึ่งเป็นก้อนแข็งมีโครงสร้างแบบที่เรียกว่า "ก้อนหิมะสกปรก" มีองค์ประกอบหลักเป็น หิน น้ำแข็ง ฝุ่น และ แก๊สเยือกแข็งอีกบางชนิด เช่นคาร์บอนไดออกไซด์ แอมโมเนีย มีเทน
เมื่อดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ความร้อนจากดวงอาทิตย์ทำให้น้ำแข็งระเหิดออกเป็นไอ และพ่นออกเป็นลำจากนิวเคลียสตามจุดที่เป็นช่องเปิดบนพื้นผิว
ไอน้ำที่พ่นออกมาได้หอบเอาฝุ่นที่ปะปนอยู่ออกมาด้วย แก๊สและฝุ่นที่พ่นออกมาก่อตัวเป็นชั้นเมฆเบาบางห่อหุ้มก้อนน้ำแข็งอยู่ เรียกว่า โคมา ยิ่งดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น อัตราการคายแก๊สและฝุ่นก็เพิ่มขึ้น โคมาของดาวหางก็จะใหญ่ขึ้นมาก
เมื่อรังสีและลมสุริยะจากดวงอาทิตย์พัดมาถึงดาวหาง ก็จะกวาดให้แก๊สและฝุ่นให้ปลิวไปด้านหลังจนมองเห็นเป็นหาง อันเป็นเอกลักษณ์ของดาวหาง นั้นเอง
ในระหว่างที่เรากำลังมองหา "ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส" เมื่อปลายเดือน ก.ย. 2567 ที่ผ่านมา ยังได้มีการค้นพบ "ดาวหางแอตลัส" หรือ C/2024 S1 (ATLAS) ผ่านเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ ATLAS (Asteroid Terrestrial-impact Last Alert System) ณ หมู่เกาะฮาวาย จัดเป็นดาวหางในกลุ่ม Kreutz sungrazer
ดาวหางดวงนี้มุ่งหน้าเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ในช่วงสิ้นเดือน ต.ค.นี้ และมีทิศทางการเคลื่อนที่สอดคล้องกับดาวหางกลุ่ม "Kreutz sungrazer" ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีวงโคจรเฉียดเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มาก และเป็นกลุ่มเดียวกับดาวหาง Lovejoy และ Ikeya-Seki จึงมีโอกาสสูงมากที่ดาวหางจะเพิ่มความสว่างมากกว่านี้หลายเท่าตัว
ดาวหางแอตลัส มีความสว่างปรากฏล่าสุดอยู่ที่ประมาณแมกนิจูด 13.1 คาดว่าจะโคจรเข้าใกล้โลกที่สุด ในวันที่ 24 ต.ค.2567 ที่ระยะห่างจากโลกประมาณ 131 ล้านกิโลเมตร จากนั้นจะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ 28 ต.ค. 2567 ที่ระยะห่างประมาณ 1.2 ล้าน กม. ซึ่งเป็นระยะที่เฉียดใกล้มาก ในช่วงเวลานี้เองที่ดาวหางจะปรากฏสว่างมาก
ก่อนทิ้งท้ายเดือน ต.ค.2567 ยังมีดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส ให้ติดตาม จากนั้นจะเฉียดเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ทำให้ไม่สามารถสังเกตการณ์ได้ ก่อนจะค่อย ๆ ถอยห่างออกจากโลกไป และในช่วงเวลานั้นเองที่ "ดาวหางแอตลัส" จะมาให้ลุ้นชมกันต่อ อย่าลืมติดตาม เก็บภาพความทรงจำ ปรากฎการณ์ดาราศาสตร์ในปีนี้ เพราะยังมีสิ่งที่น่าสนใจเกิดขึ้นอีก
อ้างอิงข้อมูล : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ, สมาคมดาราศาสตร์ไทย
อ่านข่าว : เริ่มงานต้นปีหน้า "เป่าลี่-ชิงเป่า" นักการทูตจีนคู่ใหม่ถึงสหรัฐฯ แล้ว
กางกฎหมายมาตรฐาน "ปางช้าง" เพื่อสวัสดิภาพช้างที่ดี
เปิดเหตุผลสำคัญ ทำไมห้าม "มอเตอร์ไซค์" ขึ้นสะพาน-ลอดอุโมงค์
โลกออนไลน์พากันแชร์ภาพและคลิป ดาวหาง "จื่อจินซาน-แอตลัส " ใกล้โลก 13 ต.ค.พลาดรอ 80,660 ปี โคจรใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี โดยพบว่าหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
เพจเฟซบุ๊ก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ระบุว่า ช่วงนี้ถ้าใครเห็นเส้นจาง ๆ พาดยาวค้างอยู่บนท้องฟ้าช่วงหัวค่ำ ทางทิศตะวันตก นั่นคือ "ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส"
ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส หรือ C/2023 A3 (Tsuchinshan-ATLAS) ค้นพบครั้งแรกเมื่อช่วงต้นปี พ.ศ.2566 โดยนักดาราศาสตร์จากหอดูดาวจื่อจินซาน สาธารณรัฐประชาชนจีน และระบบเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ ATLAS ประเทศแอฟริกาใต้ นักดาราศาสตร์ทั่วโลกได้เฝ้าติดตามสังเกตการณ์ และพบว่าความสว่างปรากฏมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนต่อมาได้กลายเป็นดาวหางอันโดดเด่นแห่งปี พ.ศ.2567
ขณะนี้ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส กำลังโคจรออกห่างจากโลกไปเรื่อย ๆ แต่จะยังคงสังเกตการณ์ได้จนถึงช่วงประมาณปลายเดือนต.ค.นี่ เนื่องจากดาวหางจะปรากฏอยู่บนท้องฟ้านานขึ้น ทำให้มีเวลาสังเกตการณ์มากขึ้น
ผู้สนใจชมดาวหาง ดาวหางจะปรากฏให้เห็นในช่วงหัวค่ำ ทางทิศตะวันตก ทางขวาของดาวศุกร์ (ดาวที่ปรากฏสว่างที่สุดในช่วงนี้ทางทิศตะวันตก) ชมได้ทั่วประเทศ หากท้องฟ้าใสไร้เมฆ และอยู่ในพื้นที่ที่มีแสงรบกวนน้อย
สำหรับภาพนี้ ถ่ายเมื่อช่วงหัวค่ำ 14 ต.ค.ที่ผ่านมาโดยทีม NARIT ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา นครราชสีมา
เข่นเดียวกับเพจสมาคมดาราศาสตร์ไทย ระบุว่า ดาวหาง A3 โฉบข้ามดวงอาทิตย์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ฟ้าไทยเห็นได้ตลอดทั้งสัปดาห์ 45 นาทีหลังอาทิตย์ตก ทางฟ้าตะวันตก
ขณะที่โลกออนไลน์ ต่างรายงานภาพถ่ายดาวหางที่พบ เช่น ถ่ายจากหน้าต่างเครื่องบิน รวมทั้งอีกหลายจังหวัดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน เช่น ต.วังชะพลู อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร นครราชสีมา เชียงใหม่ ร้อยเอ็ด
ข้อมูลจาก วรเชษฐ์ บุญปลอด จากสมาคมดาราศาสตร์ ระบุว่า ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส หรือ A3 ซึ่งโคจรใกล้โลก จากแผนที่แสดงตำแหน่งดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัสเทียบกับดาวฤกษ์ระหว่างวันที่ 12–31 ต.ค.นี้ เวลาประมาณ 45 นาที หลังดวงอาทิตย์ตก สามารถใช้ดาวฤกษ์ในกลุ่มดาวต่าง ๆ และดาวศุกร์ที่อยู่ทางซ้ายมือช่วยในการระบุตำแหน่งของดาวหาง
อุปสรรคที่น่ากังวล คือขณะนี้เป็นปลายฤดูฝน อาจมีเมฆมากและฝนตกหลายวัน จึงควรตรวจสอบพยากรณ์อากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม และแผนที่อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาประกอบด้วย
ทั้งนี้ดาวหางจะโคจรเข้าใกล้โลกที่สุดเมื่อ วันที่ 13 ต.ค.นี้ ระยะห่าง 70.6 ล้านกิโลเมตร ช่วงดังกล่าวดาวหางจะมีความสว่างปรากฏบนท้องฟ้ามากที่สุด คาดว่าจะสว่างกว่าดาวศุกร์และอาจชมได้ด้วยตาเปล่า ก่อนที่ดาวหางจะโคจรออกห่างจากโลกไปเรื่อย ๆ และจะโคจรกลับมาอีกครั้งในอีก 80,660 ปีข้างหน้า
วันนี้ (15 ต.ค.2567) เพจเฟซบุ๊ก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) เปิดเผยภาพปรากฏการณ์ "ดวงจันทร์บังดาวเสาร์" ครั้งสุดท้ายของปี ที่เกิดขึ้นในช่วงเช้ามืดของวันนี้ ในช่วงเวลาประมาณ 02.19 - 03.00 น. (ในแต่ละพื้นที่มีช่วงเวลาการบังเริ่มและสิ้นสุดไม่พร้อมกัน) ช่วงดังกล่าวตรงกับดวงจันทร์ขึ้น 13 ค่ำ มีดาวเสาร์ปรากฏเป็นจุดดาวเล็ก ๆ ใกล้กับดวงจันทร์ ขณะเริ่มต้นปรากฏการณ์ ดวงจันทร์ฝั่งพื้นที่ผิวส่วนมืด เคลื่อนไปบังดาวเสาร์ จนดาวเสาร์ลับหายไป และโผล่พ้นออกมาทั้งดวงอีกครั้งด้านฝั่งเสี้ยวสว่างของดวงจันทร์
ปรากฏการณ์ดังกล่าวสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าเฉพาะภาคเหนือ บางส่วนของภาคกลาง บางส่วนของภาคตะวันตก และบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนพื้นที่อื่นสังเกตเห็นเป็นปรากฏการณ์ดาวเสาร์เคียงดวงจันทร์
"ดวงจันทร์บังดาวเสาร์" เป็นปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่หาชมยาก เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก เป็นมุมมองจากโลกในแนวสายตา เมื่อมองจากโลกออกไปจึงเห็นว่าดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวเสาร์ในช่วงเวลาหนึ่ง ในปี 2567 นี้ ในไทยสามารถสังเกตการณ์ได้ 2 ครั้ง ครั้งแรก คืนวันที่ 25 ก.ค.2567 และครั้งที่สอง คืนวันที่ 15 ต.ค.2567
สำหรับปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ในเดือน ต.ค.ที่น่าติดตามถัดจากนี้ ได้แก่ "ซูเปอร์ฟูลมูน" หรือ ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี คืนวันที่ 17 ต.ค.2567 ตรงกับวันออกพรรษา ดวงจันทร์เต็มดวงจะมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย สังเกตการณ์ได้ตลอดคืน
นอกจากนี้ ยังมีดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส หรือ C/2023 A3 (Tsuchinshan-ATLAS) ปรากฏในช่วงหัวค่ำ ทางทิศตะวันตก ไปจนถึงช่วงปลายเดือน ต.ค.
อ่านข่าว :
เปิดภาพ "ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส" เหนือฟ้าเมืองไทย
"สเปซเอ็กซ์" จอดบูสเตอร์เทียบแท่นปล่อยยานสำเร็จครั้งแรก
คืนออกพรรษา 17 ต.ค.นี้ "ซูเปอร์ฟูลมูน" ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี